1. จีเอ็มโอหรือสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมคืออะไร
จีเอ็มโอหรือสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม หมายถึงสิ่งมีชีวิตใดๆ ที่ได้รับการถ่ายฝากสารพันธุกรรม ซึ่งเกิดขึ้นได้โดยวิธีตัดต่อยีนหรือพันธุวิศวกรรม เพื่อให้สิ่งมีชีวิตนั้น
มีคุณสมบัติหรือลักษณะบางอย่างต่างไปจากเดิม โดยไม่คำนึงว่าสารพันธุกรรมที่ถ่ายฝากนั้นได้มาจากสิ่งมีชีวิตชนิดใด ตัวอย่างลักษณะหรือคุณ
สมบัติที่ต่างไปจากเดิม ได้แก่
- ด้านพืช ได้แก่ ลักษณะที่ต้านทานโรคหรือต้านทานแมลงศัตรู ลักษณะที่ทนทานต่อสารเคมีกำจัดวัชพืช ลักษณะที่ผลผลิตเก็บรักษาได้นาน
หลังเก็บเกี่ยว และลักษณะขององค์ประกอบทางเคมีบางชนิด เช่น มีปริมาณของกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวในระดับสูงกว่าปกติ เป็นต้น
- ด้านปศุสัตว์และประมง ได้แก่ ลักษณะอัตราแลกเนื้อสูง หรือลักษณะโตเร็ว ลักษณะทางคุณภาพ เช่น มีไขมันที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ในระดับต่ำ
- ด้านจุลินทรีย์ ได้แก่ ลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร เช่นการสร้างกรดอะมิโนที่จำเป็นบางชนิด หรือลักษณะ
ที่เป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟูสภาวะแวดล้อม เช่นจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายคราบน้ำมัน เป็นต้น
- ด้านการแพทย์ ได้แก่ ลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษาผู้ป่วยจากโรคบางชนิด เช่น การสร้างจุลินทรีย์ให้มีความสามารถในการผลิตอิน
ซูลิน สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน และมีความสามารถในการผลิตวัคซีนและยาปฏิชีวนะเป็นต้น
ถ้าสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการถ่ายฝากสารพันธุกรรมนั้นเป็นพืช เรียกสิ่งมีชีวิตนั้นว่า พืชดัดแปลงพันธุกรรม
ถ้าสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการถ่ายฝากสารพันธุกรรมนั้นเป็นสัตว์ เรียกสิ่งมีชีวิตนั้นว่า สัตวดัดแปลงพันธุกรรม
ถ้าสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการถ่ายฝากสารพันธุกรรมนั้นเป็นจุลินทรีย์ เรียกสิ่งมีชีวิตนั้นว่า จุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม
ในบางครั้งอาจเรียกแยกให้เห็นชัดเจนเป็นพืชๆ ไป เช่น ข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม และถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรม เป็นต้น
ในกรณีของสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมก็เช่นกัน
ในบางครั้งอาจได้ยินหรือพบเห็นกับคำว่า พืชแปลงพันธุ์ พืชจำลองพันธุ์ พืชตัดต่อสารพันธุกรรม พืชตัดแต่งสารพันธุกรรม พืชดัดแปลงพันธุกรรม
พืชจีเอ็มโอ และล่าสุดราชบัณฑิตยสถานได้กำหนดชื่อขึ้นมาใหม่ว่า พืชดัดแปรพันธุกรรม และถ้าจะเรียกโดยรวมก็คือ สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
ทุกคำที่ใช้ มีความหมายเหมือนกัน