THAILAND BIODIVERSITY CENTER
มีหน้าที่ประสานงานกำกับดูแลด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติสากล และติดตามตรวจสอบให้คำแนะนำด้านวิชาการจัดทำกฏเกณฑ์ มาตรฐาน หรือแนวปฏิบัติเพื่อประเมินและจัดการเกี่ยวกับปัญหาความปลอดภัยทางชีวภาพ
จากระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และ ใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2543

ข่าวความปลอดภัยทางชีวภาพ
จาก Crop Biotech Update, September 14, 2001
พื้นที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมเพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกา
หน่วยบริการด้านสถิติการเกษตรแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NASS) รายงานว่า เกษตรกรได้ซื้อเมล็ดพืชดัดแปลงพันธุกรรมเพิ่มขึ้น และใช้พื้นที่ปลูก มากขึ้นในหลายพืช เช่น ถั่วเหลือง ฝ้าย และข้าวโพด
พื้นที่ปลูกข้าวโพดประมาณไว้ที่ 76.1 ล้านเอเคอร์ ในปี 2544 เป็นข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมประมาณ 26% เพิ่มขึ้นจาก 25% ในปี 2543 พื้นที่ปลูกฝ้ายคาดว่าจะมีประมาณ 16.3 ล้านเอเคอร์ เป็นฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรม 69% ซึ่งเพิ่มจาก 61% ในปี 2543 พื้นที่ปลูกถั่วเหลือง มีประมาณ 75.4 ล้านเอเคอร์ เป็นถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรม 68% เพิ่มขึ้นจาก 54% ในปี 2543
Brett Begemann รองประธานผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมาย US จาก Monsanto กล่าวว่า ตัวเลขที่ได้แสดงให้เห็นว่า มีตลาดซึ่งเป็นที่ยอมรับผลิตภัณฑ์เหล่านี้ เขากล่าวอีกว่า เกษตรกรมากราย มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น ในทางเลือกของการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ซึ่งส่งผลให้เกิดการเพิ่มพื้นที่ปลูกมากขึ้น
จากการเจาะตลาดอย่างเข้มแข็งในหลายปีที่ผ่านมาเป็นผลให้ Begemann นำมาอ้างว่า ผู้ปลูกเชื่อมั่นอย่างเต็มที่ในเทคโนโลยีดังกล่าว

การศึกษาครั้งใหม่แสดงให้เห็นว่า ข้าวโพดบีทีมีผลน้อยมากต่อการคุกคามผีเสื้อ Monarch
จากความพยายามในการวิจัยร่วมกันโดยนักวิทยาศาสตร์จาก สหรัฐอเมริกา และแคนาดา ได้สร้างข่าวสารที่เกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงของ ผลกระทบของข้าวโพด บีทีต่อประชากรผีเสื้อ Monarch Mark Sears นักกีฎวิทยาจาก University of Guelph และผู้ร่วมงานของเขา ได้ทำการศึกษาเป็นเวลา 2 ปี เกี่ยวกับผลที่เป็นพิษของเกสรข้าวโพดบีที และระดับ ที่ หนอนผีเสื้อ Monarch ที่จะแสดงต่อปริมาณที่เป็นพิษของเกสรข้าวโพดบีที ที่อยู่บนพืชอาศัย (milkweed) ที่พบอยู่รอบๆ แปลงข้าวโพด เขาพบว่า ในข้าวโพดลูกผสมเป็นการค้าส่วนใหญ่ การแสดงออกของบีทีในเกสรค่อนข้างต่ำ การศึกษาทั้งในห้องปฎิบัติการและในแปลงทดลอง ไม่แสดงผลที่เป็นพิษในทันทีทันใด ไม่ว่าจะในระดับความหนาแน่นของเกสรเท่าที่จะมีได้ในแปลง Sears ถูกอ้างว่ากล่าวว่า ในหลายๆ กรณี ไม่พบว่ามีผลใดๆเลย และจะต้องใช้เกสรจำนวนมากที่จะทำให้หนอนตาย เนื่องจากแต่ละเกสรมีพิษไม่มาก
อ่านเพิ่มเติมเอกสารที่วิจารณ์ในเรื่องนี้ ที่นำเสนอโดย The Proceedings of the National Academy of Sciences. http://www.pnas.org/papbyrecent.shtml

การเก็บเกี่ยวฝ้ายของออสเตรเลีย
เกษตรกรผู้ปลูกฝ้ายในออสเตรเลีย ผลิตฝ้ายได้สูงถึง 3.4 ล้าน เบลล์ ซึ่งจะมีราคาในการส่งออกประมาณ 779.25 ล้านเหรียญสหรัฐ Philip Russell หัวหน้า ผู้บริหารระดับสูงของ Cotton Australia กล่าวว่า แม้สภาพอากาศจะไม่ค่อยเหมาะสมนัก ผู้ปลูกจำนวนประมาณ 1,300 รายของประเทศ สามารถที่จะผลิตฝ้าย ได้อย่างมีคุณภาพ และประมาณ 96% ของฝ้ายที่ผลิตได้ จะส่งออกไปยังประเทศต่างๆในเอเซีย
Russel ให้ข้อสังเกตุว่า ผู้ปลูกฝ้ายชาวออสเตรเลีย เป็นผู้ปลูกรายใหญ่ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในโลก โดยผลิตฝ้ายต่อหน่วยของการใช้น้ำได้สูงกว่าประเทศอื่นๆ ซึงใช้พื้นที่ปลูกฝ้ายทั้งหมดประมาณ 430,000 เฮกแตร์
ประมาณกันว่า 30% ของฝ้ายที่ปลูก เป็นฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมให้ต้านทานต่อแมลงบางชนิด Cotton Australia ยังรายงานอีกด้วยว่า ในบางพื้นที่ที่ปลูกฝ้าย ไม่ได้พ่น สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงในฤดูนี้เนื่องเพราะใช้ฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรม
จากข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง James Peacock หัวหน้าของ CSIRO Plant Industry กล่าวว่า เทคโนโลยีชีวภาพ ทำให้จำนวนการผ่นสารเคมีลดลง 50% ในการปลูกฝ้ายในออสเตรเลีย และทั่วโลก เขาอ้างว่า ในปี 2546 เมื่อฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมพันธุ์ที่ 2 ออกแนะนำ จำนวนการผ่นสารเคมีจะลดลงมากถึง 90%

นักวิจัยโคลนยีนที่ต้านทานต่อโรคราแป้ง
นักวิทยาศาสตร์ จาก Agricultural Research Service (ARS)ในรัฐ Iowa ได้ประสบผลสำเร็จในการโคลนยีนที่ต้านทานต่อ โรคที่เกิดในธัญญพืชเมล็ดเล็ก พวกเขาโคลนและจำแนกลักษณะของยีนที่ต้านทานโรคราแป้งจากบาร์เลย์ และได้จดลิขสิทธิ์ เป็นยีนใหม่
Roger Wise, Dennis Halterman และ Fusheng Wei จาก ARS ร่วมกับกลุ่มของ Schulze-Lefert จาก Sainsbury Laboratory ประเทศอังกฤษ ได้แยก Mla ยีน จากบาร์เลย์ จำนวน 2 ยีนจาก 30 ยีนที่อยู่ในรูปต่างๆ
เชื้อโรคที่เกิดจากรา จัดเป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุดในการผลิตเมล็ดธัญพืชทั่วโลก ซึ่งทำให้ผลผลิตลดลงถึง 50% นักปรับปรุงพันธุ์ จึงต้องพยายามที่จะพัฒนาพันธุ์ที่มีพันธุกรรมที่ต้านทานต่อเชื้อรา
งานวิจัยนี้จะสามารถทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจถึงยีนที่ต้านทานต่อโรคทำงานอย่างไร ระหว่างเชื้อโรคและต้นพืช
รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ http://www.cicgr.agron.iastate.edu/CICGR/home.html


[เผยแพร่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2544]