THAILAND BIODIVERSITY CENTER
มีหน้าที่ประสานงานกำกับดูแลด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติสากล และติดตามตรวจสอบให้คำแนะนำด้านวิชาการจัดทำกฏเกณฑ์ มาตรฐาน หรือแนวปฏิบัติเพื่อประเมินและจัดการเกี่ยวกับปัญหาความปลอดภัยทางชีวภาพ
จากระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และ ใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2543

ข่าวความปลอดภัยทางชีวภาพ
จาก Crop Biotech Update, April 5, 2002
รายงานจาก NASS: พื้นที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมยังคงเพิ่มขึ้น
หน่วยบริการสถิติทางการเกษตรแห่งชาติ (National Agricultural Statistics Service) รายงาน การปลูกพืชที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ต่อ กรมวิชาการเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture) โดยกล่าวว่า พื้นที่ปลูกผลิตผล จากเทคโนโลยีชีวภาพรอบโลกจะเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่หก จากรายงานซึ่งเผยแพร่เมื่อ 28 มีนาคม กระตุ้นให้เห็นบทบาทที่จำเป็นของเทค โนโลยีทางการเกษตรที่มีต่อเกษตรกรทั่วโลก และเป็นดัชนีหนึ่งที่สำคัญในแต่ละปีของการรับและยอมรับพืชดัดแปลงพันธุกรรม
ในสหรัฐอเมริกา คาดว่าจะมีเกษตรกรปลูกข้าวโพดและถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมมากกว่า 79 ล้านเอเคอร์ เพิ่มขึ้น 13% มากกว่าการปลูกใน ปีที่ผ่านมา อีก 10.5 ล้านเอเคอร์ เป็นของฝ้าย หรือประมาณ 71% ของฝ้ายที่ปลูกในปีนี้ เป็นฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรม เพิ่มจาก 69% ในปี 2001 Don Roose, นักวิเคราะห์พืช (commudity analyst) กล่าวว่า การยอมรับพืชดัดแปลงพันธุกรรมของเกษตรกร จะอยู่บนพื้นฐานทางเศรษฐกิจ Michael Philips จากองค์กรอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology Industry Organization) เพิ่มเติมว่า รายงานนี้แสดงให้เห็นถึง ความเชื่อมั่นอย่างสูงว่า เกษตรกรสหรัฐอเมริกาได้รับเมล็ดที่พัฒนาโดยเทคโนโลยีชีวภาพ
เพิ่งไม่นานมานี้ อินเดียได้อนุญาตให้ปลูกฝ้ายบีทีเป็นการค้า ซึ่งเป็นพืชดัดแปลงพันธุกรรมพืชแรกของประเทศนี้ที่อนุญาต
การเพิ่มขึ้นของพื้นที่ปลูกคาดว่าจะยังคงเพิ่มขึ้นในปีนี้ เป็นเพราะผลิตผลที่ผ่านการพัฒนาโดยเทคโนโลยีชีวภาพจำนวนมากได้ผ่านการ อนุญาตโดยหน่วยงานที่กำกับดูแลที่มีอยู่ทั่วโลก
ดูรายงานฉบับเต็มของรายงานนี้ได้ที่ http://usda.mannlib.cornell.edu/reports/nassr/field/pcp-bbp/psp10302.pdf

จีนผ่อนคลายแนวปฎิบัติสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม
กระทรวงเกษตรของจีนได้ทำให้แนวปฎิบัติเกี่ยวกับการนำเข้าถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรม มีความง่ายและสะดวกขึ้น ขั้นตอนใหม่นี้ จะลดเวลาของการอนุญาตใบรับรองความปลอดภัยจาก 270 วันให้เหลือเพียง 30 วัน
ผู้นำเข้าถั่วเหลืองจากต่างประเทศ ไม่จำเป็นต้องยื่นเรื่องเพื่อขอใบรับรองความปลอดภัยสำหรับแต่ละสินค้า ตราบเท่าที่เขาได้เคยยื่น ผลิตผลดัดแปลงพันธุกรรมที่เหมือนกัน และซึ่งสรรหาและผู้ชื้อที่เกี่ยวข้องเป็นผู้คนเดียวกัน กระทรวงฯ ได้ประกาศเช่นเดียวกันว่า ผู้ส่งออกไม่ จำเป็นต้องยื่นเพื่อติดฉลากจีเอ็มโอสำหรับผลิตผลของเขา

ฟิลิปปินส์ยอมรับแนวปฎิบัติเกี่ยวกับการดัดแปลงพันธุกรรม
ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ Gloria Macapagal-Arroyo ยอมรับแนวปฎิบัติที่ครอบคลุมการใช้ และการนำเข้าผลิตผลทางการเกษตร ที่เป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs) ระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อเร็วๆนี้ เลขานุการการ เกษตร Leonardo Montemayor ได้นำเสนอร่างแนวปฎิบัติให้กับประธานาธิบดี ในที่สุดเลขานุการการเกษตร ได้ลงนามคำสังการบริหารที่บรรจุ อยู่ในแนวปฎิบัติที่ครอบคลุม การทดสอบภาคสนาม การขยายพันธุ์ และการค้าสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมในประเทศ
ผู้ช่วยเลขานุการ Segfredo Serrano ได้อ้างประธานาธิบดีที่กล่าวว่า ชุดของแนวปฎิบัติเป็นก้าวแรกที่นำไปสู่ระบบการควบคุมดูแลสิ่งมีชีวิตดัด แปลงพันธุกรรม ระบบบัจจุบันไม่ได้แยกความแตกต่างระหว่างผลิตผลที่เป็นจีเอ็มโอและที่ไม่ใช่จีเอ็มโอ
เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรประกาศว่า ข้อกำหนดเฉพาะของการปฎิบัติจะได้รับการลงพิมพ์ ในหนังสือรายวันของชาติ 2 ฉบับภายใน หนึ่งเดือน

DuPont และ Monsanto ทำความตกลงในการเข้าถึงเทคโนโลยี
Pioneer Hi-Bred International Inc. บริษัทสาขาของ DuPont และบริษัท Monsanto ได้ทำ ความตกลงเมื่อเร็วๆ นี้ว่า จะประกันการเข้าถึงเทคโนโลยีทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ที่บริษัทได้พัฒนาขึ้นโดยเกษตรกรทั่วโลก
ข้อตกลงได้ให้ใบอนุญาตข้ามกันได้ทั้ง 2 บริษัท ต่อความสามารถทางเทคโนโลยีที่เพิ่มการแสดงออกที่ดีของข้าวโพด คาโนลา และถั่วเหลือง และพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกร
สำหรับข้อกำหนดอื่นๆ Pioneer จะได้รับ royalty-bearing licenses ในเทคโนโลยีเกี่ยวกับถั่วเหลืองและข้าวโพด Roundup Ready ของ Monsanto และมีการดำเนินงานได้อย่างอิสระจาก Monsanto และประกอบกิจร่วมกันสำหรับผลิตภัณฑ์ข้าวโพดที่ป้องกันแมลงในรุ่นที่ 2 และ ในผลิตภัณฑ์ข้าวโพดที่ป้องกัน rootworm ในอนาคต ผ่านทาง royalty-bearing license
ในทางกลับกัน Monsanto จะได้รับอิสระที่จะดำเนินการสำหรับเทคโนโลยีการถ่ายฝากในข้าวโพด ทั้งสองบริษัท ได้เข้าสู่การปรับปรุงพันธุ์ ที่จะรับรองยืนยันในเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญาและสิทธิอื่นๆ ที่จะปกป้องทรัพย์ทางเชื้อพันธุ์
รายละเอียดของข้อตกลงดูได้ที่ http://www.momsanto.com

โครงการ IRGS เกี่ยวกับจีโนมข้าวใกล้จะสมบูรณ์
National Plant Genome Initiative ของ National Science and Technology Council รายงาน ว่าแผนที่จีโนมข้าวจะเสร็จสมบูรณ์ก่อนกำหนด 6 ปี การเร่งโครงการได้รับการกระตุ้นโดยการมอบร่างข้อมูลจีโนมข้าวและวัศดุในงานวิจัยของ Monsanto ต่อ โครงการลำดับจีโนมข้าวระหว่างประเทศ (Intarnational Rice Genome Sequencing Project-IRGSP) เมื่อ เดือนสิงหาคม 2001 ที่ผ่านมา ข่าวสารที่ใช้ร่วมกันกับ IRGSP คิดเป็นประมาณ 30%ของข้อมูลลำดับจีโนมข้าวที่ใช้ประโยชน์ในสาธารณะ
Ben Burr ผู้นำร่วมของ IRGSP อ้างว่า มีการเพิ่มขึ้นอย่างมากมายในจำนวนข้อมูลลำดับที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูลสาธารณะ ผลก็คือการขยายฐาน ความรู้สำหรับชุมชนนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานเกี่ยวกับข้าวและพืชอื่นที่ใกล้ชิด
Frank White ศาสตราจารย์ทางด้านโรคพืชที่ Kansas State University กล่าวว่า ฐานข้อมูลได้ให้กลุ่มงานของเขาด้วยแหล่งที่มีคุณค่า ซึ่งเขาไม่ สามารถที่จะได้รับได้มาในการศึกษาของเขาเกี่ยวกับข้าวและพืชอื่นๆ ที่ต้านทานต่อโรคได้อย่างไร
นอกจากการแบ่งปันข้อมูลจีโนมข้าว Monsanto ได้ใส่ฐานข้อมูลจีโนมข้าว (http://www.rice-research.org) ซึ่งทำให้ข้อมูลใช้ประโยชน์ได้โดย ไม่มีค่าใช้จ่ายโดยนักวิจัยที่ได้รับทุนสาธารณะ

บรรณาธิการวารสาร Nature: หลักฐานเอกสารข้าวโพดไม่พอเพียง
Nature วารสารวิทยาศาสตร์ ในบทบรรณาธิการกล่าวว่า บทความที่ได้ลงพิมพ์ในปี 2001 เกี่ยว กับการค้นพบข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมที่ปลูกในประเทศเม็กซิโก ไม่ควรที่จะได้รับการลงพิมพ์ ซึ่งกล่าวว่า หลักฐานที่มีอยู่ไม่พอเพียงที่จะ พิจารณาให้พิมพ์เผยแพร่ด้วยรายงานดั้งเดิม
บทความที่มีชื่อว่า ดีเอ็นเอดัดแปลงพันธุกรรมได้รวมตัวเข้ากับข้าวโพดพื้นเมืองใน Oaxaca ประเทศเม็กซิโก (Transgenic DNA introgressed into traditional maize landraces in Oaxaca, Mexico) โดย David Quist และ Ignacio Chapela ซึ่งก่อให้เกิดข้อโต้แย้งอย่างมากหลังจากที่ได้รับการลงพิมพ์ บท ความนั้นรายงานว่า ข้าวโพดจากรัฐทางใต้ของ Oaxaca มีชิ้นส่วนที่ดัดแปลงพันธุกรรม แม้ว่า เม็กซิโกได้ห้ามข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมทุกชนิดตั้งแต่ปี 1998 บทความนี้กลายเป็นแหล่งของการโต้เถียงเพราะข้าวโพดมีถิ่นกำเนิดในหุบเขาทางใต้ของเม็กซิโกและทวีปอเมริกากลาง และยังเป็นศูนย์กลาง ระหว่างชาติสำหรับความหลากหลายของข้าวโพด ซึ่งดูเหมือนจะท้าทายต่อสิ่งแวดล้อม แม้ว่าเทคโนโลยีชีวภาพที่มีความก้าวหน้าขึ้นได้เสนอ หลักฐานว่ายีนที่กระจายเข้าไปในต้นข้าวโพดไม่มีความคงตัว
Nature กล่าวว่า ผู้เขียนได้รับข้อมูลเพิ่มเติมแต่มีความไม่เห็นพ้องในระหว่างผู้เขียน และกรรมการว่าผลอันนี้ จะสนับสนุนอย่างมีความสำคัญต่อ ข้อโต้แย้งของเขา สุดท้าย Nature ได้สรุปว่า หลักฐานไม่ได้ให้เหตุผลอันควรแก่การลงพิมพ์ เมื่อผู้เขียนประสงค์ที่จะยืนตามหลักฐานที่มีอยู่สำ หรับการสรุปของเขา เรารู้สึกว่าจะเป็นเรื่องที่ง่ายที่สุด ที่จะทำให้กรณีเช่นนี้กระจ่าง โดยการพิมพ์คำจิจารณ์ การสนองตอบของผู้เขียน และข้อมูลใหม่ๆ และให้ผู้อ่านตัดสินใจทางวิทยาศาสตร์โดยตัวของเขาเอง

[เผยแพร่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2545]