THAILAND BIODIVERSITY CENTER
มีหน้าที่ประสานงานกำกับดูแลด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติสากล และติดตามตรวจสอบให้คำแนะนำด้านวิชาการจัดทำกฏเกณฑ์ มาตรฐาน หรือแนวปฏิบัติเพื่อประเมินและจัดการเกี่ยวกับปัญหาความปลอดภัยทางชีวภาพ
จากระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และ ใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2543

ข่าวความปลอดภัยทางชีวภาพ
จาก Crop Biotech Update, February 1, 2002
ประเทศจีนเป็นที่สองรองจากสหรัฐอเมริกาในงานวิจัยพืชดัดแปลงพันธุกรรม
การสำรวจล่าสุดที่มีส่วนร่วมโดย 80% ของห้องปฎิบัติการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพด้านพืชของจีน แสดงให้เห็นว่า จีนเป็นประเทศที่มีความ สามารถสูงที่สุดทางเทคโนโลยีด้านพืช ที่นอกเหนือไปจากสหรัฐอเมริกา การศึกษานี้ได้เปิดเผยด้วยว่า จีนได้มุ่งที่จะพัฒนาพืชอาหาร เช่น การพัฒนาความต้านทานต่อโรคหรือความแห้งแล้งของข้าว ข้าวสาลีและมันฝรั่ง ที่มักจะถูกละเลยในห้องปฎิบัติการของประเทศอุตสาหกรรม และมากกว่า 90% ของพื้นที่ปลูกแปลงทดสอบทั้งหมดเป็นพืชที่ต้านทานแมลงศัตรูและโรค
ประโยชน์ในบางส่วนที่เกษตรกรชาวจีนจะได้รับ ในการใช้พืชดัดแปลงพันธุกรรมนั้น จะรวมถึงการลดการใช้สารกำจัดแมลงศัตรู และการเพิ่ม ประสิทธิภาพในการผลิต
กลุ่มวิจัยของ Jikun Huang, Scott Rozelle, Carl Pray และ Qinfang Wang ซึ่งได้ทำการสำรวจสองขั้นตอนในปี 2000 ให้ข้อสังเกตุว่า " มี หลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการแข่งขัน ซึ่งจะเพิ่มความกดดันไปที่ ผู้กำหนดนโยบาย ที่จะตัดสินใจว่าจะยังคงต้องการพืชดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อการค้าหรือไม่.......จากขนาดและอัตราการเพิ่มการลงทุนในงานวิจัยในปัจจุบัน และความสำเร็จในอดีตในการพัฒนาเทคโนโลยี เสนอ แนะว่า ผลิตผลจากอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพด้านพืชของจีนในวันหนึ่งจะแพร่กระจายอยู่ในประเทศ "
ในปี 1999 จีนได้ลงทุนไปแล้วประมาณ 112 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับงานวิจัยเทคโนโลยีด้านพืช เงินส่วนใหญ่ได้มาจากรัฐบาล ยิ่งไปกว่า นั้น เจ้าหน้าที่ของจีนยังประกาศว่า งบประมาณสำหรับงานวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพด้านพืช จะเพิ่มขึ้นมากถึง 400% ก่อนปี 2005
ตั้งแต่ปี 1996 ถึงปี 2000 สำนักงานบริหารความปลอดภัยด้านพันธุวิศวกรรมของจีน (Chinese Office of Genetic Engineering Safety Administration) อนุมัติคำร้องทั้งหมด 251 กรณี จากที่ยื่นมา 353 กรณี โดยอนุญาตให้ทำการทดลองในแปลงสำหรับพืชดัดแปลง พันธุกรรม 45 กรณี สำหรับการปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม 65 กรณี และปลูกเพื่อการค้า 31 กรณี การศึกษานี้ได้ชี้ให้เห็นว่ามีพืชมากกว่า 50 ชนิด พันธุ์ และในจำนวนยีนที่มากกว่า 120 ยีนที่นักวิทยาศาสตร์ได้นำมาใช้ในงานวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพด้านพืช
ศาสตราจารย์ Julia Goodfellow หัวหน้าผู้บริหารของ สภาวิจัยวิทยาศาสตร์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพและชีววิทยา (Biotechnology and Biological Sciences Research Council-BBSRC) เชื่อว่า รายงานนี้ได้แสดงให้เห็นประโยชน์ที่เป็นจริงและจับต้องได้ ที่เป็นผลมาจากความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีชีวภาพด้านพืช และสามารถนำไปสู่การใช้วิทยาศาสตร์เช่นนี้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
" เรามาถึงในจุดที่ว่า ประเทศกำลังพัฒนาจะไม่ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งขึ้นกับการตัดสินใจของตัวเขาเอง " กล่าว โดยนักพันธุศาสตร์พืช Nigel Halford จาก Institute of Arable Crops Research ใน Long Ashton อังกฤษ

ยุโรปเปลี่ยนจุดยืนหันมาสนับสนุนเทคโนโลยีชีวภาพ
คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป ประกาศเมื่อเร็วๆ นี้ ในทำนองที่ชื่นชอบเทคโนโลยีชีวภาพ และเรียกร้องให้มีการสนับสนุนอย่างแข็งขันสำ หรับในส่วนที่จำเป็นต่อการแข่งขันในอนาคต การสื่อสารนี้ได้เสนอให้ยอมรับใน " มาตรฐานสูงสุดของการปกครอง " เพื่อ เอาชนะความสงสัยของสาธารณะ
ในคำกล่าวที่เกี่ยวกับศักยภาพของเทคโนโลยีชีวภาพ Mr Erkki Liikanen จากคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป ที่รับผิดชอบในเรื่องของวิสาหกิจ และสังคมข่าวสาร ( Information Society ) เชื่อว่า เทคโนโลยีชีวภาพจะเป็นคลื่นลูกใหม่ของการปฎิวัติเทคโนโลยี ต่อจากเทคโนโลยีสารสน เทศ คณะกรรมาธิการคำนึงถึงว่า เขามีทางเลือกที่จะยอมรับ " บทบาทของการไม่ดิ้นรน การแสดงออกต่อการพัฒนาในที่อื่นๆ หรือ การพัฒนา นโยบายที่แสดงออกอย่างเห็นด้วยต่อการใช้ศักยภาพในลักษณะที่รับผิดชอบอย่างแนวแน่กับคุณค่าทางสังคมของเรา " คณะกรรมาธิการ ยอมรับด้วยว่า อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพของยุโรป ยังคงตามหลังสหรัฐอเมริกา เพื่อที่จะเก็บเกี่ยวประโยชน์ของวิทยาศาสตร์แห่งชีวิต และเทคโนโลยีชีวภาพ คณะกรรมาธิการได้สรุปข้อเสนอเชิงกลยุทธ์ ซึ่งเน้นใน 4 ประเด็นดังนี้
  • ประเด็นที่ 1 เน้นที่การศึกษาและวิจัย พัฒนาความชำนาญในการจัดการการลงทุนทางธุรกิจ ในองค์กรธุรกิจที่จะใช้ประโยชน์ของ ความท้าทายที่อยู่เบื้องหน้า พัฒนาแหล่งเงินทุนสำหรับความเสี่ยง ซึ่งต้องนำมาคิดโดยเฉพาะของหน่วยนั้นๆ ความสมบูรณ์ของการปะติด ปะต่อกันอย่างมีเหตุผลและระบบที่สามารถเข้าถึงได้ซึ่งสิทธิบัตร
  • ประเด็นที่ 2 ต้องมีบทบาทที่กระทำอย่างเห็นชอบ สำหรับผู้มีอำนาจสาธารณะ ที่จะติดตามผลกระทบต่อการแข่งขันและต่อการ คาดหวังในเรื่องที่จะเกิดและนโยบายที่ปรับเข้าได้อย่างมีเหตุผล ยิ่งไปกว่านั้น มีความต้องการที่จะเกี่ยวข้องกับสาธารณะในการโต้เถียงอย่าง ต่อเนื่อง สหภาพยุโรปควรที่จะทำกรอบโครงร่างกฎข้อบังคับในเรื่องของ จีเอ็มโอ และยา ให้สมบูรณ์โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้แน่ใจ ในความเชื่อมั่นเช่นนั้น สาธารณะเชื่อในบทบาททางวิทยาศาสตร์ในสังคมของเราจะต้องทำให้เพิ่มขึ้น โดยผ่านการสื่อสารที่ดีกว่า เกี่ยวกับข้อ บังคับของสหภาพยุโรปของเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้
  • ประเด็นที่ 3ชุมชนควรที่จะยังคงแสดงบทบาทเป็นผู้นำในการพัฒนาแนวทางปฎิบัตินานาชาติ มาตรฐานและคำแนะนำ ยุโรป มีความรับผิดชอบเฉพาะที่จะต้องสนับสนุนโลกกำลังพัฒนา เพื่อให้แน่ใจว่า เขาเหล่านั้นสามารถที่จะเผชิญกับความเสี่ยง ความท้าทายและ โอกาสที่เกิดจากเทคโนโลยีชีวภาพ
  • ประเด็นที่ 4อ้างถึงการมีผลบังคับใช้ของกลยุทธ์นี้ คณะกรรมาธิการจะต้องสร้างความแน่ใจ ในการบังคับใช้กลยุทธ์และแผนดำ เนินงานโดยผ่านทางรายงานของวิทยาศาสตร์แห่งชีวิตและเทคโนโลยีชีวภาพตามปกติ และรวมถึงโปรแกรมการทำงานสำหรับการควบคุม ตามกฎหมาย

การติดฉลากจีเอ็มโออาจจะลดความปลอดภัยของอาหารทั่วโลก
Kim Nill ผู้อำนวยการทางวิชาการและเทคโนโลยีชีวภาพ ของสมาคมถั่วเหลืองอเมริกา (American Soybean Association-ASA) กลัวว่า การ บังคับให้ติดฉลากจีเอ็มโอ จะมีผลกระทบทางลบเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารทั่วโลก
การวิเคราะห์ของ Nill เกี่ยวกับมาตรฐานของ Codex ที่เรียกร้องให้มีการติดฉลากเฉพาะผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอ แสดงให้เห็นว่า สิ่งนี้จะลด การใช้พืชที่ได้จากเทคโนโลยีชีวภาพ และส่งผลให้ลดความปลอดภัยของการสรรหาอาหาร ผู้ผลิตอาหาร และผู้บริโภค จะได้รับการผลักดัน ไปสู่ ทางเลือกในความปลอดภัยที่น้อยลง ที่เป็นผลมาจากการบังคับการติดฉลากจีเอ็มโอ ดังนั้น ก็จะกระทบต่อเป้าหมายของ Codex ที่จะพัฒนา ความปลอดภัยของอาหาร อย่างไรก็ดี จากการตรวจสอบการปฎิบัติในการผลิตทางการเกษตรในปัจจุบัน เปิดเผยว่า อาหารที่ผลิตขึ้นก่อนที่จะมี การใช้เทคโนโลยีชีวภาพใหม่ก็มีการถ่ายทอดความเสี่ยงที่สำคัญในการสร้างและการผลิต
การติดฉลากจีเอ็มโอ จะเพิ่มค่าใช้จ่ายทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค การศึกษาเกี่ยวกับการแยกจีเอ็มโอ และที่ไม่ใช่จีเอ็มโอ แสดงให้เห็นว่าปฎิบัติ ได้ยากและมีค่าใช้จ่ายสูง " อุตสาหกรรมอาหารของแคนาดา ได้ทำการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ และประเมินว่า การจัดการในการแยก และการติดฉลาก จะเพิ่มราคาอาหารขายส่ง 9-10% และการประเมินที่ว่านั้นยังไม่ได้รวมค่าใช้จ่ายสำหรับ การเรียกกลับคืนผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลากผิดพลาดที่ไม่ สามารถหลีกเลี่ยงได้ " Nill อธิบาย
ผู้อำนวยการ ASA อธิบายเช่นกันว่า การบังคับการติดฉลากจีเอ็มโอ จะทำให้การพัฒนาช้าลงหรือหยุดการพัฒนาพืชเทคโนโลยีชีวภาพใน อนาคตที่จะมีคุณสมบัติที่จะพัฒนาความปลอดภัยของอาหารมากขึ้น ประโยชน์ที่ได้จากพืชจีเอ็มโอ เช่น ลดการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช การควบคุมวัชพืชที่มีประสิทธิภาพโดยการใช้พืชทนทานสารกำจัดวัชพืช และเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่ได้จากจีเอ็มโอ ก็จะกลายเป็นขยะ
สำหรับการวิเคราะห์ของ Nill ในรายละเอียด ดูได้จาก http://www.inpulsemag.org/english/features/fl8.html

ฟิลิปปินส์ใกล้ที่จะปลดปล่อยแนวปฎิบัติทางเทคโนโลยีชีวภาพ
กรมวิชาการเกษตรของประเทศฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture-DA) จะปลดปล่อยแนวปฎิบัติสำหรับการค้าของเทคโนโลยีชีวภาพใน เร็วๆ นี้ DA ได้วางแผนที่จะปลดปล่อยแนวปฎิบัติ เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2001 แต่การพูดคุยกับหลายส่วนที่เกี่ยวข้องในการยอมรับแนวปฏิบัติ ทำให้เกิดการปลดปล่อยช้าลง เลขานุการการเกษตร Leonardo Q. Montemayor กล่าวว่า ขั้นตอนต่างๆ ของการปรึกษาได้เสร็จสิ้นแล้ว ขั้นตอน ต่อไปเป็นการสร้างกรอบการควบคุมที่ดี เพื่อที่แนวปฏิบัติจะถูกนำไปใช้อย่างประสบผลสำเร็จ
Arnold B. Estrada ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ Monsanto Philippines Inc. (MPI) กล่าวว่า เป็นสิ่งสำคัญที่รัฐบาลจะต้องมีแนวปฏิบัติใน ทางการค้าพืชดัดแปลงพันธุกรรม เพราะบริษัทกำลังจะเสร็จสิ้นการทดสอบข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมในหลายท้องที่ ภายในเมษายน หรือ พฤษภาคมปีนี้
แนวปฏิบัติในการประเมินในแปลงทดลองที่กำหนดเงื่อนไขสำหรับการทดสอบในหลายท้องที่ เพื่อประเมินการแสดงออกของพืชดัดแปลง พันธุกรรมและผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับสุขภาพมนุษย์และสัตว์ เป็นข้อบังคับของ คณะกรรมการด้านความปลอดภัยทาง ชีวภาพแห่งชาติ ของประเทศฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ดี แนวปฏิบัตินี้ ไม่ได้ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ทางการค้าของพืชจีเอ็มโอที่อนุญาต

บราซิลสนับสนุนการค้าสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม
หลังจากเกื่อบ 4 ปีที่ต่อสู้เพื่อยกเลิกประกาศห้ามสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) รัฐบาลบราซิล ได้ประกาศเมื่อเร็วๆ นี้ว่า จะผลักดัน แผนการที่จะปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อการค้าให้ออกมาเร็วที่สุดที่จะทำได้ ประธานาธิบดีของชาวบราซิล Fernando Henrigue Cardoso ได้แสดงต่อสมาชิกคณะรัฐมนตรี ว่า เขาต้องการที่จะหยุดการโต้แย้ง ภายในรัฐบาล และทุกคนจะต้องทำตามนโยบายของกลุ่ม ประธานาธิบดี ได้ยื่นงานที่จะยกเลิกประกาศห้ามไปยังการบริการฝ่ายอัยการแห่งรัฐบาลกลาง (Federal Prosecutions Survice)
การถูกตีกลับเริ่มต้นหลังจากการอนุญาตของรัฐบาลเพื่อปลูกถั่วเหลือง Roundup Ready ของบริษัทมอนซานโต้เป็นการค้าได้ โดยคำสังของศาล ในปี 1998 การบังคับของศาลต่อมาได้นำไปสู่การจำกัดการนำเข้าข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมเข้าประเทศ
Benjamin Sicsu เลขานุการผู้บริหารรัฐมนตรีฝ่ายพัฒนา นำเสนอความคิดเห็นของรัฐบาล ว่า " เราสนับสนุนอย่างจริงจังให้ใช้จีเอ็มโอ บราซิลต้องการสิ่งนี้ในการขยายตลาดต่างประเทศ "
บราซิลเป็นประเทศที่ส่งออกเมล็ดพืชที่สำคัญที่ยังต้องยอมรับเทคโนโลยีสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม

ประธานบริษัท Unilever เรียกหาจุดเริ่มต้นเกี่ยวกับพืชดัดแปลงพันธุกรรม
ในคำกล่าวของ ประธานบริษัท Unilever, Niall FitzGerald ที่กล่าว ณ Annual City Food Lecture ใน ลอนดอน แสดงความเต็มใจที่จะพิจารณา จุดยืนใหม่ ของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับพืชดัดแปลงพันธุกรรม Unilever เป็นหนึ่งในหลายบริษัทด้านอาหารที่ต้องเอาผลิตภัณฑ์อาหารดัด แปลงพันธุกรรมออกจากตลาดเมื่อเกิดวิกฤติใน 2-3 ปีที่ผ่านมา
" ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับพืชและอาหารดัดแปลงพันธุกรรม คือ ความล้มเหลวในการเข้าถึงผู้บริโภค " กล่าวโดย FitzGerald " เราต้อง เริ่มต้นใหม่ ซึ่งไม่ได้หมายถึงการทำตามความคิดเห็นของสาธารณะ แต่หมายถึง การกำหนดแนวทางการสื่อสารโดยตรงและซื่อสัตย์กับ ผู้บริโภคและตอบทุกคำถามที่มี "
FitzGerald ได้เสนอแนะ 5 ประเด็นสำคัญ คือ
  • 1. ความจำเป็นที่จะต้องมุ่งสู่ตลาดยุโรปโดยคำนึงถึง ความปลอดภัยของอาหาร การทำการเกษตรและการเปลี่ยนแปลงใหม่
  • 2. ความต้องการในการควบคุมที่จะต้องเน้นในเรื่องความเสี่ยงที่แท้จริงต่อสุขภาพ แต่จะต้องไม่ปกป้องผู้บริโภคในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ ที่เขาต้องการ
  • 3. ความต้องการที่จะต้องยกเลิกเงินอุดหนุนการเกษตร และโอบอุ้มการใช้อย่างหลากหลายของชนบท และเข้มข้นในอาหารที่ให้คุณค่า เพิ่มอย่างแท้จริงต่อทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค
  • 4. ระลึกถึงความต้องการในการเปลี่ยนแปลง
  • 5. ความต้องการที่จะเปิดตลาดในสหภาพยุโรปสำหรับโลกกำลังพัฒนา

การประชุมเรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม
สมาคมนานาชาติเพื่องานวิจัยความปลอดภัยทางชีวภาพ จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติครั้งที่ 7 เกี่ยวกับความปลอดภัยทางชีวภาพ ของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ระหว่างวันที่ 10-15 ตุลาคม 2546 ที่ปักกิ่ง ประเทศจีน การประชุมเป็นการจัด 2 ปีต่อครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อกล่าวถึงพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับความปลอดภัยทางชีวภาพที่ขยายไปสู่สิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับสุขอนามัยของมนุษย์และสัตว์ ที่เกี่ยวข้องกับ จีเอ็มโอ
การประชุมจะมีประโยชน์อย่างมากต่อ นักวิทยาศาสตร์ระดับอาวุโส ผู้กำหนดนโยบาย ผู้กำกับดูแล นักสิ่งแวดล้อม และผู้แทนฝ่ายอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องในการปลดปล่อยจีเอ็มโอเพื่อการค้า
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมการประชุม วาระการประชุม และการลงทะเบียน ดูได้จาก http://www.worldbiosafety.net


[เผยแพร่วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2545]