THAILAND BIODIVERSITY CENTER
มีหน้าที่ประสานงานกำกับดูแลด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติสากล และติดตามตรวจสอบให้คำแนะนำด้านวิชาการจัดทำกฏเกณฑ์ มาตรฐาน หรือแนวปฏิบัติเพื่อประเมินและจัดการเกี่ยวกับปัญหาความปลอดภัยทางชีวภาพ
จากระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และ ใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2543

ข่าวความปลอดภัยทางชีวภาพ
จาก Crop Biotech Update, January 18, 2002
ประเทศแอฟริกาใต้ปลูกข้าวโพดและถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรม
ประเทศแอฟริกาใต้เป็นประเทศแรกของโลกที่จะปลูกข้าวโพดเมล็ดสีขาวที่ดัดแปลงพันธุกรรมเป็นการค้า ซึ่งเป็นอาหารหลักในหลายๆ ส่วนของทวีป และกำลังจะเป็นประเทศผู้ส่งออกไปยังหลายประเทศทางตอนใต้ของทวีป
จากรายงานซึ่งทำขึ้นโดยคณะกรรมการประเมินพืช (Crop Estimates Committee) ของรัฐบาลกล่าวว่า ในฤดูปลูกปี 2001/02 มีข้าวโพดสีขาวปลูก ประมาณ 1,596,005 เฮกแตร์ Kit le Clus ซึ่งเป็นหัวหน้าวิจัยและพัฒนาเพื่อเมล็ดของแอฟริกาใต้ กล่าวว่า น้อยกว่า 1% ของข้าวโพดเมล็ดสีขาว ในแอฟริกาปลูกโดยใช้พันธุ์ดัดแปลงพันธุกรรม Jocelyn Webster ผู้อำนวยการบริหารของ AfricaBio ซึ่งเป็นสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพ กล่าวว่า 3 บริษัท ได้แก่ Monsanto, Pioneer และ Panna Seeds จะเกี่ยวข้องกับข้าวโพดเมล็ดสีขาวดัดแปลงพันธุกรรม ข้าวโพดเมล็ดสีขาวของ Monsanto ปลูกอยู่ที่แปลงในเขต KwaZulu-Natal, Free State, Eastern Cape และ Mpumalanga ข้าวโพดลูกผสมเมล็ดสีขาวดัดแปลงพันธุกรรมของ Panna จะสามารถปลูกเป็นการค้าได้ในฤดูปลูกปี 2003/04 หลังจากเสร็จสิ้นแปลงสาธิต
ขณะนี้ในประเทศได้ปลูกถั่วเหลืองทนทานสารเคมีปราบวัชพืช ในพื้นที่ 7,000 เฮกแตร์ สภาผู้บริหารสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (Executive Council for Genetically Modified Organisms) ของรัฐบาลประเทศแอฟริกาใต้ ได้อนุญาตให้ปลูกถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมเช่นเดียวกับฝ้ายต้านทานแมลงและ ทนทานสารปราบวัชพืช

ประเทศเกาหลีใต้และจีนออกคำสั่งหรือข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์จากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม
รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและป่าไม้ของประเทศเกาหลี ได้ออกแนวปฎิบัติสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มาจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ที่จะวางขายในประเทศ เพื่อจะช่วยให้ผู้บริโภคเกิดความแน่ใจว่า ผลิตภัณฑ์ที่มาจากจีเอ็มโอที่ผลิตในประเทศและต่างประเทศ ไม่มีศักยภาพที่จะทำ อันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
แนวปฎิบัติมีข้อกำหนดว่า ผู้ค้าผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอต้องส่งใบคำร้องต่อ Rural Development Administration (RDA) เพื่อประเมินผลิตภัณฑ์ และให้ เวลา 30 วันสำหรับรวบรวมข้อคิดเห็นและข่าวสารที่ตรงกับผลิตภัณฑ์ จากสาธารณะ และผู้มีอำนาจจะแจ้งผลการพิจารณาต่อผู้ยื่นคำร้องภายใน 270 วันหลังจากรับคำร้อง
ขณะเดียวกัน รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรของประเทศจีน ได้ออกรายละเอียดเกี่ยวกับการบังคับใช้แนวปฎิบัติในเรื่องจีเอ็มโอ แนวปฎิบัติหนึ่งก็คือว่า ต่างประเทศต้องให้ความมั่นใจว่า ผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอที่จะส่งออกมายังประเทศจีน ต้องมีใบรับรองความปลอดภัย จากรัฐมนตรี ก่อนลงนามติด ต่อซื้อขาย และ ถั่วเหลือง ข้าวโพด rapeseed เมล็ดฝ้าย และมะเขือเทศ ดัดแปลงพันธุกรรมที่ส่งออกทุกชนิด ต้องติดฉลากอย่างชัดเจน ว่าเป็น ผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอ ปักกิ่งจะส่งนโยบายนี้ให้มีผลบังคับในวันที่ 20 มีนาคม ปีนี้

ผลสำรวจของ Reuter กล่าวว่าการปลูกข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมในสหรัฐอเมริกาจะเพิ่มขึ้น
การสำรวจผู้ปลูกโดย Reuter จากการประชุมประจำปีของ American Farm Bureau Federation ที่ Las Vegas กล่าวว่า พื้นที่ปลูก พืชดัดแปลงพันธุกรรมหลายชนิดจะยังคงเพิ่มขึ้น แม้จะยังมีความห่วงกังวลของประเทศในยุโรปและเอเซีย การปลูกข้าวโพดในสหรัฐอเมริกาจะเพิ่มขึ้น ในปีนี้ มากถึง 13.8-19.3 % ขึ้นกับพันธุ์ การเพิ่มขึ้นดูเหมือนจะเป็นผลมาจากการหยุดโต้แย้งอันยาวนานเกี่ยวกับข้าวโพด Starlink
พืชอื่นๆ ที่คาดว่าจะเพิ่มการปลูกขึ้น คือ ถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรม เพิ่มขึ้นประมาณ 8.3 % ในทางกลับกัน ฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมจะ ลดลงประมาณ 8.4 % สำหรับพันธุ์บีที และ 2.1 % พันธุ์ทนทานสารเคมีปราบวัชพืช Roundup Ready เนื่องจากผลผลิตได้มากเกินพอทั่วโลก

UNEP เริ่มโครงการที่จะส่งเสริมความปลอดภัยทางชีวภาพ
Global Environment Facility (GEF) จะให้ทุนทำโครงการที่จะช่วยประเทศกำลังพัฒนา ในการประเมินศักยภาพความเสี่ยงและประโยชน์ที่จะ ได้รับ จากพืชดัดแปลงพันธุกรรม จำนวนมากถึง 100 ประเทศ ที่จะได้รับความช่วยเหลือในการสร้างความสามารถที่จะประเมินความกังวลใน สุขภาพและสิ่งแวดล้อม จากการนำเข้าสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม
โครงการนี้เป็นการจัดเตรียมให้ประเทศกำลังพัฒนาได้เข้าเป็นภาคีของ พิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ (Cartegena Protocol on Biosafety) ที่ให้การยอมรับกันเมื่อเดือน มกราคม 2543 ประเทศที่ส่งออกสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ต้องแจ้งประเทศผู้นำเข้าว่า จะต้องมีผู้ชำนาญ ทางวิทยาศาสตร์และกฏหมายที่เหมาะสม ที่จะตัดสินใจว่าจะยอมรับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมเข้าไปในประเทศหรือไม่ นอกจากนี้จะต้องรู้วิธีที่จะดูแล ความปลอดภัยของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้
United Nations Environment Programme (UNEP) จะใช้เวลาในการดำเนินโครงการ 3 ปี ด้วยเงินหลายล้านเหรียญสหรัฐ Klaus Toepler จาก UNEP กล่าวว่า อุตสาหกรรมถูกทำให้เชื่อว่า พืชดัดแปลงพันธุกรรมจะเป็นกุญแจสำคัญที่จะเพิ่มผลผลิต ในวิถีทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ คนอื่นอาจกังวลว่า เทคโนโลยีใหม่นี้ อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย พิธีสารคาร์ตาเฮนา เป็นความพยายามที่จะไกล่เกลี่ย ในเรื่องการค้าและการปกป้องสิ่งแวดล้อม

นักวิทยาศาสตร์ชาวแอฟริกาออกคำกล่าวเกี่ยวกับนโยบายเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร
International Society of African Scientists (ISAS) ได้แสดงคำกล่าวเพื่อบอกจุดยืน โดยเน้นให้เห็นว่า เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร เป็นโอกาส ที่สำคัญที่จะเพิ่มผลผลิตของพืชอาหาร พืชทำรายได้ และพืชอื่นๆ ทางการเกษตรหลายชนิด ในแอฟริกา Caribbean และประเทศที่กำลังพัฒนาอื่นๆ คำกล่าวมีพื้นฐานมาจากการประชุมวิชาการที่จัดที่ Wimington ประเทศเยอรมนี
ประเด็นหลักของคำกล่าวนโยบายมีดังนี้
  • แอฟริกา และ Caribbean ไม่สามารถที่จะให้ถูกทิ้งอยู่เบื้องหลังในการได้มาซึ่งการใช้และประโยชน์ของการปฏิวัติการเกษตรใหม่นี้
  • งานวิจัยและการใช้เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรในอนาคต ควรให้ความสนใจเกี่ยวกับการผลิตอาหารและการเกษตรอันเป็นที่ต้องการของประเทศที่กำลังพัฒนา
  • รัฐบาลและสังคมของพลเมืองในประเทศต่างๆของแอฟริกัน และ Caribbean จะต้องมีความกระตือลือล้นที่จะมีส่วนร่วมในการโต้เถียง ทั่วโลกเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร นักวิทยาศาสตร์ชาวแอฟริกัน ต้องอยู่แนวหน้าของงานวิจัยนี้ และโต้เถียงเพื่อช่วยให้เกิดความกระจ่าง ในเรื่องที่ห่วงกังวลสำหรับชุมชน รัฐบาลแอฟริกันต้องพัฒนานโยบายและโครงการที่จะสนับสนุนการพัฒนาอย่างรวดเร็วในเรื่องเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร เหมือนกับเป็นส่วนประกอบหนึ่งของเทคนิคทางการเกษตรอื่นๆ
  • รัฐบาลอัฟริกันและ Caribbean ต้องตั้งกฏเกณฑ์มที่พอเพียงในการดูแลและข้อปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมสำหรับเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร


[เผยแพร่วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2545]