THAILAND BIODIVERSITY CENTERความปลอดภัยทางชีวภาพ
มีหน้าที่ประสานงานกำกับดูแลด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติสากล และติดตามตรวจสอบให้คำแนะนำด้านวิชาการจัดทำกฏเกณฑ์ มาตรฐาน หรือแนวปฏิบัติเพื่อประเมินและจัดการเกี่ยวกับปัญหาความปลอดภัยทางชีวภาพ
จากระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และ ใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2543

แบบทดสอบตัวเองว่ามีความเข้าใจเกี่ยวกับพืชดัดแปลงพันธุกรรมมากน้อยเท่าใด
แบบทดสอบนี้ ได้มาจาก เว็บไซด์ http://www.hort.purdue.edu/hort/courses/HORT250/GM%20Crop%20Quizทำขึ้นเมื่อเดือน กรกฎาคม 2543 โดย Peter Goldsbrough นักวิทยาศาสตร์ด้านพืช เชี่ยวชาญในพืชดัดแปลงพันธุกรรม ที่ Purdue University ด้วยความร่วมมือกับ Steve Tally นักเขียน ที่อยู่ที่หน่วยติดต่อสื่อสารทางการเกษตร Purdue University คำถามนี้มีทั้งหมด 10 ข้อ เป็นการทดสอบความรู้ของท่าน เกี่ยวกับพืชดัดแปลงพันธุกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร ก็ลองทำดูเพื่อจะ ได้ประเมินสถานภาพของตัวท่านเองได้ว่า ในเรื่องที่กำลังอยู่ในความสนใจของคนทั้งโลกนั้น ตัวท่านเองรู้เรื่องมากน้อยขนาดไหน หลังจากตอบคำถามแล้ว ตรวจสอบ คำตอบพร้อมอ่านคำอธิบายในส่วนท้าย
คำถาม
1. ผลที่เกิดจากการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม โดยเฉพาะการใช้สารเคมีในไร่จะเป็นเช่นไร
2. พืชชนิดแรกที่ได้รับการดัดแปลงโดยวิธีพันธุวิศวกรรม ได้รับการพัฒนาขึ้นในห้องปฏิบัติการเมื่อปี ค.ศ. ใด
3. แมลงจะพัฒนาความต้านทานต่อสารพิษที่ผลิตขึ้นในข้าวโพดบีทีได้หรือไม่
4. ข้าวโพดบีทีหรือฝ้ายบีทีจะฆ่าแมลงที่เฉพาะเจาะจง ที่ทำอันตรายต่อพืชใช่หรือไม่
5. เมื่อไรที่พืชจะมีความต้านทานต่อสารเคมีปราบวัชพืช
6. ยีนสามารถหลบหนีจากพืชดัดแปลงพันธุกรรมและข้ามไปยังพืชอื่นๆ ได้หรือไม่
7. ถ้าเราพัฒนาพืชให้มีชีวิตอยู่รอดได้ในพื้นที่ที่พืชนั้นไม่สามารถอยู่รอดได้ เช่น พื้นที่ที่เย็นจัด สิ่งนี้จะเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดหวังทางนิเวศวิทยาได้หรือไม่
8. ใช้เวลานานเท่าใดที่จะพัฒนาพืชดัดแปลงพันธุกรรม
9. นักวิทยาศาสตร์สามารถทำนายได้อย่างแน่นอนหรือไม่ว่า ยีนที่ถ่ายฝากเข้าไปจะเข้าไปอยู่ในโครโมโซมพืช
10. เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรสามารถจะลดการพึ่งพาการใช้น้ำมันของเราได้หรือไม่

คำตอบ
ข้อ 1 ตอบ ง. การใช้สารเคมีจะลดลงในบางพืชแต่เปลี่ยนแปลงน้อยหรือไม่เปลี่ยนแปลงในพืชอื่นๆ
อธิบาย ในหลายกรณี การใช้พืชดัดแปลงพันธุกรรมอาจจะลดการใช้สารเคมีปราบแมลงศัตรูพืช แต่หลายคนยังคงใช้ สารเคมีกำจัดวัชพืช แต่ก็สามารถลดการใช้สารเคมีปราบแมลงศัตรูพืชบางชนิดที่ดูเหมือนจะทำอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และนั่นคือความก้าวหน้า


ข้อ 2 ตอบ ง. 1984
อธิบาย อย่งไรก็ดี การดัดแปลงทางพันธุกรรมและการคัดเลือกพืช ได้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาเกือบหมื่นปี ตั้งแต่เริ่มมีการเพาะปลูกหรือทำการเกษตร


ข้อ 3 ตอบ ง. เกือบเป็นที่แน่นอนว่าแมลงจะพัฒนาความต้านทานต่อข้าวโพดบีที
อธิบาย ความต้านทานของแมลงต่อสารพิษบีทีได้มีการแสดงให้เห็นแล้ว ในห้องปฏิบัติการและจากการสังเกตุในแปลง ท้ายที่สุดแมลงจะพัฒนาความต้านทานต่อสารพิษบีที เกษตรกรจะต้องปลูกพืชปกติโดยรอบพืชดัดแปลงพันธุกรรม และดำเนินวิธีการอื่นๆ เพื่อลดการพัฒนาความต้านทานของแมลงลง แต่ท้ายที่สุดก็ยังคงต้องเกิดขึ้น ไม่มีใครรู้ว่าจะถึงเวลานั้นเมื่อไร สิ่งนี้เป็นเหมือนการทอลองทางนิเวศวิทยาที่กำลังดำเนินต่อไป


ข้อ 4 ตอบ ค. สารพิษบีทีฆ่า European corn borer และแมลงที่มีความใกล้ชิด
อธิบาย นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้แปลกใจที่ได้เรียนรู้เมื่อฤดูร้อนที่ผ่านมาว่า ผีเสื้อ Monarch จะตายเมื่อถูกบังคับให้ให้ต้องกินสารพิษบีที European corn borer เป็นตัวหนอนของผีเสื้อกลางคืน และสารพิษบีทีจะฆ่าผีเสื้อกลางคืน หรือตัวหนอนที่กินสารพิษบีที อย่างไรก็ดี มันเพียงแต่ฆ่าผีเสื้อกลางคืนและหนอนผีเสื้อกลางคืนเท่านั้น และเพียงแต่กินข้าวโพดเท่านั้น (ซึ่ง ผีเสื้อ Monarch โดยปกติไม่กิน) สารพิษบีที ที่ผลิตโดยข้าวโพดบีที ไม่เฉพาะเจาะจงต่อชนิดพันธุ์ แต่ก็เฉพาะเจาะจงมากกว่า การพ่นสารเคมีปราบแมลงศัตรูพืชโดยเครื่องบิน ซึ่งจะฆ่าแมลงทุกชนิด พืชดัดแปลงพันธุกรรม เป็นทางเลือกหนึ่งที่มีประโยชน์ เมื่อเทียบกับการพ่นสารเคมีปราบแมลงศัตรูพืช


ข้อ 5 ตอบ ก. พืชมีความต้านทานอยู่แล้วต่อสารเคมีปราบวัชพืชบางชนิด
อธิบาย ถ้าไม่มี เกษตรกรจะไม่สามารถใช้สารเคมีเช่น atrazine กับข้าวโพด หรือ สารเคมีปราบวัชพืชทั่วๆ ไปบางชนิดในถั่วเหลือง ขณะที่มีพืชชนิดใหม่ที่ต้านทานต่อสารเคมีปราบวัชพืช พัฒนาโดยวิธีทางเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งมีหลายสิ่งหลายอย่างที่มีความเหมือนกันมากกับแต่ก่อน สิ่งนี้ น่าจะเป็นการวิวัฒนาการมากกว่าการปฏิวัติ


ข้อ 6 ตอบ ก. ได้และเกิดได้บ่อยๆ
อธิบาย ถ้าพืชสามารถผสมข้ามกับพืชป่าใกล้เคียง ยีนใหม่ก็จะแพร่ไปสู่พืชใหม่เหล่านั้น ตัวอย่างเช่น ข้าวฟ่าง สามารถผสมข้ามกับ Johnson grass และ Shattercane และ Canola สามารถผสมข้ามกับ Mustasd ป่า ดังนั้นถ้าเราพัฒนา ข้าวฟ่างทนทานต่อราวด์อัพ ก็ไม่ได้หมายถึงว่าเราจะได้ shattercane ที่ทนทานราว์ดอัพ นักวิทยาศาสตร์ป้องกันสิ่งที่อาจเกิดขึ้นนี้ โดยการไม่ปลดปล่อยพืชดัดแปลงพันธุกรรม ในพื้นที่ที่มีพันธุ์ป่าใกล้เคียงอาศัยอยู่ ในสหรัฐอเมริกา ไม่มีพืชป่าใกล้เคียง ข้าวโพดและถั่วเหลือง นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ ยังพัฒนาเทคโนโลยี ที่จะป้องกันการผสมข้าม โดยทำให้พืชดัดแปลงพันธุกรรมมีความเป็นหมัน อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีนี้ ได้รับการต่อต้านจากกลุ่มสิ่งแวดล้อม ซึ่งถูกติดฉลากว่า terminator gene และเทคโนโลยีนี้ไม่เคยออกสู่ตลาด


ข้อ 7 ตอบ ข. เป็นไปได้ที่ว่าพืชอาจจะบุกรุกไปรอบๆ ระบบนิเวศ
อธิบาย ไม่คิดว่าน่าจะมีเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นได้ แต่ก็สามารถเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น ถ้าพัฒนา strawberries ให้ต้านทานต่อ ความเย็นต่ำ เราอาจทำให้พืชมีความสามารถแข่งขันได้ในสภาพเช่นนั้น และเป็นไปได้ที่จะกลายเป็นวัชพืชประหลาด เหมือนกับ Mustard ป่า ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากที่จะทำนาย


ข้อ 8 ตอบ ข. 10 ปี
อธิบาย ในขณะนี้ ใช้เวลาประมาณ 10 ปี ที่จะพัฒนาพืชดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งจะต้องใช้เวลาหลายปีที่จะทดสอบการทำงานของยีน จากนั้น จึงประเมินพืชภายใต้สภาพแวดล้อมต่างๆ เป็นเวลาหลายปี เช่นเดียวกับพืชอื่นๆ ที่จะต้องประเมินก่อนปลดปล่อยไปสู่เกษตรกร เป็นกระบวนการที่ยาวนานและเต็มไปด้วยความระวัง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่สามารถเข้าใจผิดได้ แต่ก็เป็นกระบวนการที่รอบคอบ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ทางด้านจีโนม อาจจะเร่งกระบวนการค้นพบยีนใหม่ๆ แต่การนำพืชดัดแปลงพันธุกรรมพันธุ์ให้มาสู่ตลาด จะยังคงใช้เวลาหลายปี


ข้อ 9 ตอบ ง. มันเหมือนกับยิงไปสู่ความมืด
อธิบาย ในหลายกรณี เป็นการยิงตามตัวอักษร โดยส่วนใหญ่แล้ว ยีนจะเคลื่อนเข้าสู่พืช โดยหนึ่งในสองทาง คือ การใช้แบคทีเรียเป็นผู้นำพา หรือการยิงด้วยปืน ที่ยิงชิ้นส่วนพันธุกรรมเข้าไปในเซลล์ เพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ ปืนขนาด .22 ยิงยีนเข้าไปในเซลล์ จึงเรียกเทคนิคนี้ว่า gene gun เมื่อชิ้นส่วนพันธุกรรมเข้าไปสู่เซลล์ พืชจะรวมดีเอ็นเอ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครโมโซมของตัวเอง แต่เป็นเพราะนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถควบคุม หรือกำหนดที่ที่ยีนควรจะไปได้ในเซลล์พืช เขาจึงต้องเพาะเลี้ยงให้เติบโต และทดสอบ พืชเป็นร้อยหรือเป็นพันต้น เพื่อหาต้นที่มียีนนั้นที่ทำงานอย่างเหมาะสม และมีลักษณะที่ต้องการ เทคโนโลยีที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้ยังไม่สามาถทำนายได้ ยีนจะถ่ายฟากลงสู่จุดใดยังเป็นไปแบบสุ่ม ไม่สามารถคาดการได้ แต่พืชที่ไม่มีลักษณะที่ต้องการจะถูกคัดทิ้ง


ข้อ 10 ตอบ ข. ได้เป็นบางส่วน
อธิบาย พืชเก็บเกี่ยวพลังงานจากแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ พืชกำลังได้รับการพัฒนา ให้ผลิตพลาสติก น้ำมัน และผลิตผลที่มีค่าสูงอื่นๆ ซึ่งมีศักยภาพที่จะลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีพื้นฐานมาจากน้ำมัน เทคโนโลยีชีวภาพอาจจะช่วยให้เราลดการพึ่งพาน้ำมันได้


ไม่ทราบว่าท่านที่ลองทำแบบทดสอบ สามารถตอบถูกกันกี่ข้อ และผู้ตั้งคำถามไม่ได้กำหนดมาตรฐานไว้ด้วยว่า ตอบถูกกี่ข้อถึงได้เรียกว่าผ่านการทดสอบ เอาเป็นว่า ถ้าถูกน้อยกว่า 6 ข้อ ถือว่าท่านคงจะต้องพยายามติดตามในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดกว่าที่เคย และถ้าถูก 6-8 ข้อ ถือว่าท่านให้ความสนใจพอสมควรในเรื่องของพืชดัดแปลงพันธุกรรม และขอให้มีความสนใจเพิ่มมากขึ้นอีกนิด และถ้าถูก 9-10 ข้อ ถือว่า ท่านยืนอยู่แถวหน้า ที่มีความรู้มากในเรื่องพืชดัดแปลงพันธุกรรม คงไม่มีใครถูกเกิน 10 ข้อ เพราะคำถามมีเพียงแค่นั้น
เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2544