THAILAND BIODIVERSITY CENTER
มีหน้าที่ประสานงานกำกับดูแลด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติสากล และติดตามตรวจสอบให้คำแนะนำด้านวิชาการจัดทำกฏเกณฑ์ มาตรฐาน หรือแนวปฏิบัติเพื่อประเมินและจัดการเกี่ยวกับปัญหาความปลอดภัยทางชีวภาพ
จากระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และ ใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2543

ข่าวความปลอดภัยทางชีวภาพ
จาก Crop Biotech Update, January 4, 2002
CIMMYT สงสัยการถ่ายดีเอ็นเอของข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมไปสู่พันธุ์ท้องถิ่น
งานวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่ที่ ศูนย์พัฒนาข้าวโพดและข้าวสาลีนานาชาติ (CIMMYT) ในประเทศเม็กซิโก ทำให้มองเห็นข้อสงสัยบางอย่างในรายงานที่กล่าวว่า ดีเอ็นเอจากข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมได้ถ่ายทอดไปยังข้าวโพดพันธุ์พื้นเมืองใน ประเทศเม็กซิโก ซึ่งจากการศึกษาของ CIMMYT ไม่สามารถตรวจสอบเจอ 35S promoter ไม่ว่าจะเป็นเชื้อพันธุ์ที่มาจากธนาคารเชื้อพันธุ์พืช หรือตัวอย่างที่เก็บรวบรวมเมื่อเร็วๆ นี้จากในแปลงเกษตรกรในประเทศเม็กซิโก ผลของการศึกษานี้ ได้ลงพิมพ์ในวารสาร Nature Biotechnology ฉบับเดือนมกราคม 2545
CIMMYT ได้เก็บรักษาเชื้อพันธุ์ข้าวโพดไว้เป็นจำนวนมากและได้แจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ตามความต้องการของสถาบันวิจัยต่างๆ และหน่วยงาน ส่งเสริมของประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก " เราต้องทำความแน่ใจให้กับผู้ใช้เชื้อพันธุ์ของเราว่า ไม่ได้มีการถ่ายทอดยีนเกิดขึ้นกับเมล็ดที่ มีอยู่ในธนาคารเชื้อพันธุ์ และเราก็ได้แสดงให้เห็นแล้ว " ซึ่งกล่าวโดย David Hoisington ผู้อำนวยการของ CIMMYT's Applied Biotechnology Center ผลการศึกษาในเบื้องต้นนั้นไม่พบ 35S promoter ในข้าวโพด 28 ประชากรที่มีอยู่ในธนาคารเชื้อพันธุ์ สิ่งสำคัญยิ่งกว่านั้น ได้เริ่มมีการที่จะตรวจสอบเชื้อพันธุ์ ที่เก็บรวบรวมมาจากแปลงเกษตรกรใน Oaxaca รัฐที่ Chapela เก็บรวบรวมเชื้อพันธุ์ของเขา
วิธีเดียวที่จะแก้ปัญหาข้อขัดแย้ง คือการแบ่งปันตัวอย่างเชื้อพันธุ์ที่มีอยู่ของกลุ่มต่างๆ ซึ่งจะมีความสำคัญตรงที่ ห้องปฏิบัติการที่เป็นอิสระและแตกต่างกัน หลายแห่ง กระทำการวิเคราะห์ขนานกันไปด้วยตัวอย่างที่เหมือนกัน " ถ้าเขาเหล่านั้นได้เห็นในสิ่งที่เหมือนกัน ดังนั้นเราอาจแน่ใจมากขึ้นได้ว่า มีบางสิ่งบางอย่างที่แท้จริงอยู่ที่นั่น " กล่าวโดย Hoisington
ผลวิจัยของ CIMMYT มีความแตกต่างจากที่รายงานก่อนหน้านี้โดยนักวิจัยของรัฐบาลเม็กซิโกและจากการศึกษาของ Ignacio Chapela ที่ลงพิมพ์ ในวารสาร Nature Magazine ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2544

การลงทุนทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพของเอเซีย
หลายประเทศในเอเซียได้ให้ความสำคัญของงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพอยู่ในอันดับต้นๆ ประเทศผู้นำคือ สิงคโปร์ ซึ่งเปิดช่องทางที่จะใช้เงินทุนหลายล้านเหรียญในการพัฒนาเพื่อที่จะเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ของท้องถิ่นนี้
จีนก็ไม่ได้อยู่ห่างไกลเกินไป จากการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ โดยนักวิจัยในสหรัฐอเมริกาและจีน เปิดเผยว่า งานวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับเทคโน โลยีชีวภาพด้านพืช กำลังไปได้ดีในประเทศนี้ Scott Rozelle ศาสตราจารย์ ในภาควิชาเศรษฐกิจการเกษตรและทรัพยากร จาก University of California (UC) Davis และผู้ร่วมงาน ได้สำรวจสถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพด้านพืชของจีน จำนวน 29 แห่ง และสัมภาษณ์ผู้อำนวยการโครง การวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพด้านพืชที่สำคัญ
Rozelle ให้ข้อสังเกตุว่า จีนกำลังเร่งการลงทุนในงานวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร และกำลังประสบผลสำเร็จในพืชที่ได้ถูกละเลย ในห้องปฏิบัติการของประเทศอุตสาหกรรม " ถ้าความสำเร็จของจีนจากฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมเป็นตัวชีวัดความสำเร็จในอนาคต เราสามารถคาด หวังได้ว่า เทคโนโลยีชีวภาพด้านพืชในจีน จะมีผลกระทบที่สำคัญต่อการผลิตของโลก การบริโภค คุณค่าทางโภชนาการ และการค้า "
ประเทศที่กำลังจะมีส่วนร่วมเช่นเดียวกับสิงคโปร์และจีน คือ มาเลเซีย อินเดีย และเกาหลีใต้ รัฐบาลมาเลเซีย เชื่ออย่างมั่นใจว่า เทคโนโลยีชีวภาพ จะช่วยให้ประเทศเข้าไปอยู่ในแนวหน้าของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และได้ตั้งเงินลงทุนไว้ถึง 3.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ที่จะตั้ง Multi-Media Super Corridor (MSC) ซึ่งเป็นที่ที่ Bio-valley จะตั้งอยู่ เจ้าหน้าที่ของมาเลเซียคาดหวังว่า สถาบันทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ 3 แห่ง จะช่วยเร่งอุต สาหกรรมใหม่นี้ และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเป็นจำนวนถึง 10 พันล้านเหรียญสหรัฐใน 10 ปีข้างหน้า
อินเดียกำลังวางแผนที่จะเพิ่มการลงทุนในด้านเทคโนโลยีชีวภาพในอีก 2-3 ปีข้างหน้า รัฐทางใต้ของอินเดียได้จำแนกเทคโนโลยีชีวภาพเป็นส่วนที่น่าเชื่อถือ ภายในปี 2010 อุตสาหกรรมของอินเดียจะเติบโตถึง 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ จาก 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐในขณะนี้
เกาหลีใต้ คาดว่าจะเห็นการเพิ่มขึ้นในการลงทุนด้านเทคโนโลยีชีวภาพภายใน 5 ปีข้างหน้า ภายในปี 2007 จะต้องลงทุนในด้านเทคโนโลยี ชีวภาพ 10 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในจำนวนนั้น 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ จะลงทุนในอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหาร

รายงานที่น่าพึงพอใจเกี่ยวกับการทดลองฝ้ายบีที
หลายหน่วยงานในอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง India Council of Agricultural Research (ICAR), Union Environment Ministry และ Department of Biotechnology (DBT) ได้ประกาศโดยทั่วไปว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการทดลองฝ้ายบีที ในประเทศเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งเป็นการดำเนินงานเพื่อสร้างความมั่นใจ โดยผู้มีหน้าที่ในการดำเนินงาน คือ Maharashtra Hybrid Seed Company (Mayco) รายงานที่ได้จากทั้ง ICAR และ Mayco จะนำไปประเมินโดย Review Committee on Genetic Manipulation (RCGM) ซึ่งจะส่งต่อไปยัง Ministry's Genetic Engineering Approval Committee (GEAC) เพื่อให้ข้อคิดเห็น ซึ่งเป็น ผู้มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการอนุมัติพืชดัดแปลงพันธุกรรมหรืออาหารที่มาจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม
ในกรณีของการผลักดันให้มีการปลูกฝ้ายบีทีในทางการค้า สิ่งนี้จะเป็นพืชดัดแปลงพันธุกรรมพืชแรกของอินเดียที่จะปลูกเป็นการค้าได้
ในการพัฒนาอื่นๆ สมาคมปราบศัตรูพืชฃองอินเดีย Pradip K. Mazumdar รองประธาน ให้ข้อคิดเห็นว่า กลุ่มของเขายินดีต่อการใช้พืชดัดแปลงพันธุกรรม ตราบเท่าที่ได้ผ่านการทดสอบแล้ว
เปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ เช่นญี่ปุ่นและไต้หวัน ที่ใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชคิดเทียบเป็นเงินเท่ากับ 633 และ 392 เหรียญสหรัฐต่อเฮกแตร์ ตามลำดับ อินเดียเป็นประเทศที่ใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชน้อยที่สุดในโลก ประมาณ 3 เหรียญสหรัฐต่อเฮกแตร์ มีโอกาสที่จะใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชในระดับ ที่เหมาะสม ในท้องที่ที่มีศัตรูพืชระบาด แม้ว่าเมล็ดพืชดัดแปลงพันธุกรรมจะได้รับการปลดปล่อยให้ปลูกเป็นการค้า

ศูนย์รวมความรู้ BICs จะพบปะกันที่กรุงเทพฯ
ผู้แทนประเทศของศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology Information Centers-BICs) ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และเครือข่ายเชื่อมโยง จะรวมตัวกันในกรุงเทพฯ ประเทศไทย ในวันที่ 14-15 มกราคม เพื่อที่จะตรวจสอบกิจกรรม และวางแผนโครงการสำหรับปี 2545 BICs เป็นหัวใจของ ศูนย์รวม ความรู้ของโลก เกี่ยวกับเครือข่ายเทคโนโลยีด้านพืช ซึ่งการดำเนินงานหลักจะมีฐานอยู่ใน SEAsiaCenter ของ International Service for the Acquisition of Agribiotech Applications คาดว่าจะมีผู้แทนจาก อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ประเทศไทย และเวียดนาม
BICs มีหน้าที่ที่จะให้ข่าวสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพด้านพืชและส่งเสริมความเข้าใจของสาธารณชนเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ในขอบข่ายที่เฉพาะต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในประเทศนั้นๆ


[เผยแพร่วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2545]