THAILAND BIODIVERSITY CENTER
มีหน้าที่ประสานงานกำกับดูแลด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติสากล และติดตามตรวจสอบให้คำแนะนำด้านวิชาการจัดทำกฏเกณฑ์ มาตรฐาน หรือแนวปฏิบัติเพื่อประเมินและจัดการเกี่ยวกับปัญหาความปลอดภัยทางชีวภาพ
จากระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และ ใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2543

ข่าวความปลอดภัยทางชีวภาพ
จาก Crop Biotech Update, December 7, 2001
ICMF สนับสนุนการเพาะปลูกฝ้ายบีที
India Cotton Mills Federation (ICMF) สนับสนุนการเพาะปลูกฝ้ายบีที โดยอ้างถึงประธานของ ICMF, R. Jaipura ซึ่งกล่าวว่า ผลผลิตฝ้ายในประเทศอินเดียเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่มีผลผลิตต่ำสุด คือประมาณ 300 กก/เฮกแตร์ เทียบกับผลผลิตเฉลี่ยทั้งโลกที่มาก กว่า 580 กก./เฮกแตร์ แม้จะมีพื้นที่ปลูกฝ้ายมากที่สุดก็ตาม
Jaipura เพิ่มเติมอีกว่า ประเทศที่มีสำนึกในเรื่องของสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย จีน อาร์เจนติน่า เม็กซิโก อินโดนีเซีย และแอฟริกาใต้ ได้มีการปลูกฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรม หลังจากที่มีงานวิจัยและทดสอบในแปลงจำนวนมาก อะไรที่ เหมาะสมต่อประเทศเหล่านั้นน่าจะเหมาะสมต่อประเทศอินเดียเช่นกัน
หน่วยงานของรัฐบาลกำลังทำการตรวจสอบความเหมาะสมของฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมในประเทศอินเดียซึ่งได้ดำเนินการมาแล้ว 6 ปี
" การประกาศอย่างเป็นทางการ เกี่ยวกับเมล็ดที่ใช้ในทางการค้าอย่างกระจ่างชัดโดยเร็วที่สุด แน่นอนจะทำให้การโต้เถียงอย่างผิดๆ เกี่ยวกับผลกระทบทางลบของฝ้ายบีทีเบาบางลง ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรได้มีเมล็ดใช้อย่างกว้างขวางในฤดูปลูกหน้าและเพิ่มผลผลิต ฝ้ายรวมทั้งลดต้นทุนในการผลิต " กล่าวโดย Jaipura

เทคโนโลยีชีวภาพด้านพืชกำลังเบ่งบานในประเทศจีน
การศึกษาไม่นานนี้ซึ่งทำโดยนักวิจัยในสหรัฐอเมริกาและจีน เปิดเผยว่า งานวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีชีวภาพด้านพืช กำลังเฟื่องฟู ในประเทศจีน Scott Rozelle ศาสดาจารย์จากภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร University of California (UC) Davis และ ผู้ร่วมงาน ได้สำรวจสถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพด้านพืช 29 แห่ง ของประเทศจีน และสัมภาษณ์ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยจากหลากหลาย โครงการเทคโนโลยีชีวภาพด้านพืชที่สำคัญ
ใน 10 ปีที่ผ่านมาประเทศจีนได้เร่งการลงทุนในงานวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร และได้สร้างความก้าวหน้าในด้านนี้ให้เกิดขึ้น โดยไม่ได้เอาใจใสกับห้องปฎิบัติการในประเทศอุตสาหกรรม ถ้าความสำเร็จของประเทศจีนจากฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมเป็นตัวชี้ถึงผลสำเร็จ ในอนาคต เราสามารถคาดหวังได้ว่า เทคโนโลยีชีวภาพด้านพืชในประเทสจีนจะส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อการผลิต การบริโภค การโภชนาการ และการค้าของโลก
การศึกษาทำขึ้นโดยความร่วมมือกับ Fangbin Qiao นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ของ UC Davis ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร และ Jikun Huang จาก Chinese Academy of Science ในปักกิ่ง

รัฐบาลเม็กซิโกขานรับในเรื่องราวของข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม
การขานรับต่อข่าวที่รายงานเมื่อเร็วๆ นี้ ในวารสาร Nature เกี่ยวกับการปรากฏของข้าวโพดดัดแปลง พันธุกรรม ในบริเวณ Sierra of Oaxaca, Luis Herrera Estrella, ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยของเม็กซิโก CINVESTAV Irapuato, ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า ไม่มีหลักฐานที่ว่าสิ่งนี้จะคุกคามต่อความ หลากหลายทางชีวภาพในประเทศเม็กซิโก
ต้นๆ สัปดาห์นี้ มีหลายบทความที่ตีพิมพ์ ที่แสดงความกังวลต่อการค้นพบครั้งนี้ เนื่องเพราะประเทศเม็กซิโกเป็นศูนย์กลางถิ่นกำเนิด และเป็นแหล่งความหลากหลายในพืชที่สำคัญเช่นนั้น
Estrella ได้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมอีกว่า เป็นเวลาหลาย 10 ปีมาแล้ว ที่ข้าวโพดพื้นเมืองได้อยู่ร่วมกับพันธุ์ทางการค้า ที่เป็นทั้งพันธุ์ลูกผสม ที่มาจากหลาย เชื้อพันธุกรรม และจากความเป็นจริงเช่นนั้นก็ไม่ก่อให้เกิดการสูญหายของพันธุ์พื้นเมืองแต่อย่างใด และในหลายกรณี ซึ่งส่วนมากแล้วก็ ไม่เกิดการแทนที่ของข้าวโพดพันธุ์ใหม่โดยผู้ ปลูกรายเล็ก เขาแน่ใจว่า ระหว่างช่วงระยะเวลาทั้งหมดนี้ ข้าวโพดพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์ที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีปกติ มีโอกาศที่จะแลกเปลี่ยนยีน และจากความเป็นจริงเช่นนั้น ก็ยังห่างไกลจากการสูญหายทางพันธุกรรมของพันธุ์พื้นเมืองที่หลากหลาย แต่ดูเหมือนจะเพิ่มความหลากหลายเสียด้วยซ้ำ โดยที่ ผู้ปลูกรายเล็กจะได้ยีนที่ถูกรวมเข้าด้วยกันส่งผลให้เขาได้รับพันธุ์ท้องถิ่นที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ของเขา และช่วยให้เขาได้รับสิ่ง ที่พอเพียงในการบริโภค
ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อ lherrera@irapuato.ira.cinvestav.mx

AFIC และ ISAAA เผยแพร่ การสื่อสารด้านเทคโนโลยีชีวภาพผ่านทาง CD-ROM
Asian Food Information Center (AFIC) และ International Service for the Acquisition of Agri-biotech Applications (ISAAA) ได้ร่วมมือ กันในการพัฒนา Food Biotechnology: a Communications Guide to Enhance Understanding ซึ่งพัฒนาขึ้นเป็นการเฉพาะสำหรับ Asia Pacific Region
คู่มือมีจุดมุ่งหมายเพื่อ สร้างจิตสำนึกในเรื่องของการสื่อสาร และให้คำแนะนำในการปฎิบัติ และให้แหล่งข้อมูลที่จะเอาชนะปัญหา ที่สาธารณชนมีต่ออาหารที่มาจากการดัดแปลงพันธุกรรม นอกจากนี้ในคู่มือยังได้รวบรวมรายชื่อของคำที่ใช้ และคำที่สูญหาย และการนำเสนอใน รูปของสไลด์ ที่อาจจะปรับไปตามความต้องการและสนใจของผู้ฟัง
ในคู่มือยังมี ประวัติของการพัฒนาและเนื้อหาของการพัฒนาอาหารที่มาจากการดัดแปลงพันธุกรรม คำจำกัดความของคำที่สำคัญเช่น โปรตีนที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ และ จีโนม เป็นต้น การอธิบายอย่างสั้นๆ เกี่ยวกับหลักการพื้นฐานของเทคโนโลยีชีวภาพด้านอาหาร เช่น ความเทียบเท่าและการประเมินความปลอดภัย รายชื่อจำนวนมากของแหล่งข้อมูลและข่าวสารที่เฉพาะ การรวบรวมคำกล่าวของผู้นำที่สำคัญและนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับปัจจุบันและศักยภาพของผลกระทบของอาหารที่มาจากการดัดแปลง พันธุกรรม คู่มือนี้สามารถ dounload จาก AFIC (http://www.afic.org) หรือ ISAAA SEA (http://www.isaaa.org/kc) เว็บไซด์ หรือต้องการเป็น CD-ROM ก็ติดต่อขอได้

พื้นที่ปลูกฝ้ายบีทีในอินโดนีเซียดูเหมือนจะเพิ่มขึ้น
พื้นที่ปลูกสำหรับฝ้ายบีทีในอินโดนีเซีย ประเมินว่าจะขยายอยู่ในระหว่าง 10,000-12,000 เฮกแตร์ เนื่องมาจากประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับ จากประสบการณ์ จากการปลูกในเชิงการค้าครั้งแรก ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกที่มากกว่า 2 เท่า เทียบกับการปลูกปที่ผ่านมา
Bun Hasanuddin Ibrahim จาก กระทรวงเกษตรอินโดนีเซีย กล่าวว่า การขยายจะยังคงอยู่ในพื้นที่ 7 เขต ใน South Sulawesi ได้แก่ Gowa, Takalar, Soppeng, Bantaeng, Bulukumba, Bone และ Wajo
จนถึงขณะนี้ ผลจากการติดตามแสดงแสดงให้เห็นผลที่ดีจากการปลูกฝ้ายบีที ซึ่ง 60% ของพื้นที่ให้ผลผลิตมากกว่า 2 ตันต่อเฮกแตร์ ขณะที่อีก 30% ได้มากกว่า 3 ตันต่อเฮกแตร์ ตัวเลขนี้สูงเป็น 3-4 เท่าเทียบกับฝ้ายปกติ
พระราชกฤษฎีกาใหม่สำหรับการปลูกฝ้ายบีทีจะประกาศในสิ้นปีนี้


[เผยแพร่วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2544]