THAILAND BIODIVERSITY CENTER
มีหน้าที่ประสานงานกำกับดูแลด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติสากล และติดตามตรวจสอบให้คำแนะนำด้านวิชาการจัดทำกฏเกณฑ์ มาตรฐาน หรือแนวปฏิบัติเพื่อประเมินและจัดการเกี่ยวกับปัญหาความปลอดภัยทางชีวภาพ
จากระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และ ใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2543

ข่าวความปลอดภัยทางชีวภาพ
จาก Crop Biotech Update, November 16, 2001
ASA เสนอผลการศึกษาครั้งแรกเกี่ยวกับการอนุรักษ์การไถพรวน
American Soybean Association (ASA) ได้เสนอผลการศึกษาครั้งแรกเกี่ยวกับการอนุรักษ์การไถพรวนซึ่งดำเนินการโดย องค์กรท้องถิ่น ที่เชื่อถือได้ในเรื่องของความชำนาญที่จะดำเนินงานศึกษาทางด้านการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกร ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า เมล็ดพันธุ์ที่ได้จาก เทคโนโลยีชีวภาพ จะช่วยให้เกษตรกรลดการปฎิบัติในการไถพรวน ซึ่งจะช่วยในการปกป้องพื้นดินจากการชะล้างพังทะลายของลมและฝน การศึกษานี้ มีเกษตรกรเข้าร่วมทั้งหมด 452 ราย จาก 19 รัฐ ทางตะวันตกและทางใต้ของสหรัฐอเมริกา
ผลการศึกษาที่เป็นจุดเด่นเช่น
  • ร้อยละ 73 ของผู้ปลูกจะทิ้งเศษทรากพืชปกคลุมดินซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นเทียบกับในปี 1996 อันเป็นปีก่อนการใช้พันธุ์ถั่วเหลืองที่ได้จากเทคโนโลยีชีวภาพ
  • ร้อยละ 48 ของผู้ปลูกกล่าวว่า พวกเขาได้เพิ่มพื้นที่การปลูกถั่วเหลืองโดยไม่ไถพรวน ในช่วง 6 ฤดูปลูกที่ผ่านมา
  • ระหว่างปี 1996-2001 พื้นที่ปลูกถั่วเหลืองโดยไม่ไถพรวน ได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า คิดเป็น ร้อยละ 49 ของพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองทั้งหมด
  • ร้อยละ 53 ของผู้ปลูกกล่าวว่า พวกเขาทำการไถพรวนน้อยลงในแปลงถั่วเหลือง การปฎิบัติในการลดการไถพรวน จะช่วยรักษาหน้าดินในปี 2000 ได้ถึง 247 ล้านตัน และลดจำนวนครั้งที่เกษตรกรจะต้องวิ่งรถไถบนแปลง ส่งผลให้สามารถรักษาน้ำมันที่จะต้องใช้ถึง 234 ล้านแกลลอน
ดูรายงานฉบับเต็มได้ที่ http://www.soygrowers.com/file_depot/0-10000000/0-10000/735/folder/9709/Consv_Till_Study_11_01.pdf

ฐานข้อมูลของจีนที่เกี่ยวกับสารก่อให้เกิดภูมิแพ้ในอาหาร
Agricultural Molecular Biology Laboratory (AgMoBiol) ของ Peking University ได้สร้างฐานข้อมูลสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ในอาหาร ฐานข้อมูลนี้สามารถทำการเปรียบเทียบความเหมือนของลำดับ amino acid ที่รู้ว่าเป็นสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร กับสารที่ได้จากอาหารดัดแปลงพันธุกรรม นอกจากนี้ยังได้รวบรวมเอกสารอ้างอิง เทคนิคการทดลองสารภูมิแพ้ในอาหาร รวมถึงรายงานผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับการแพ้ละอองเกสร
ฐานข้อมูลสามารถเข้าถึงได้จากเว็บไซด์ http://ambl.lsc.pku.edu.cn ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ให้ติดต่อ Zhongping Lin จาก Peking University (linzp@pku.edu.cn)

เอ็นไซม์ที่ได้จากการดัดแปลงพันธุกรรม อาจเป็นกุญแจที่นำไปสู่การกำจัดสงครามอาวุธเคมี
เอ็นไซม์เป็นโปรตีนที่ใช้ในการเร่งปฎิกิริยาทางเคมี มีความสามารถที่จะทำให้สารเคมีที่ใช้ในสงครามและที่ใช้ในสารปราบศัตรูพืช ลดความเป็นอันตรายลงได้ด้วยการทำให้โครงสร้างของสารเคมีนั้นแตกสลาย นักเคมีจาก Texas A&M University กำลังศึกษาในเอ็นไซม์ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า phosphotriesterase ที่จะทำให้เกิดปฎิกิริยาได้อย่างรวดเร็วและที่เลื่อกเฟ้นมากขึ้น phosphotriesterase เป็นเอ็นไซม์ที่รู้จักกันดีว่ามีคุณสมบัติ ที่จะทำลายความเป็นพิษของสารเคมีที่ใช้ในสงคราม เช่นสารที่ส่งผลต่อระบบประสาท (nerve agents) sarin, somon และ VX เช่นเดียวกับ สารเคมีปราบศัตรูพืชที่ใช้ในการเกษตร
" เรารู้ว่าเอ็นไซม์ในธรรมชาติบางชนิดมีคุณสมบัติที่จะทำลายความเป็นพิษ ดังนั้นเราจึงต้องพยายามทำให้เอ็นไซม์นั้นมีปฎิกิริยาที่เร็วขึ้น ดีขึ้น และถูกลง " ซึ่งกล่าวโดย Frank Raushel หนึ่งในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานในโครงการนี้ เขาร่วมกับนักวิทยาศาสตร์อื่นๆ จาก University of Wisconsin กำลังพยายามที่จะหาเอ็นไซม์ที่ทำลายความเป็นพิษได้เร็วที่สุด โดยการดัดแปลงพันธุกรรมที่เหมาะสม

อินเดียจะเพิ่มการสนับสนุนเทคโนโลยีชีวภาพ
รัฐบาลอินเดีย โดยคณะกรรมาธิการเพื่อการวางแผนงาน ได้ตั้งกลุ่มคณะทำงานที่จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะสนับสนุนงานวิจัย เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ KC Pant ผู้ทำการแทนประธานคณะกรรมาธิการเพื่อการวางแผน เปิดเผยว่า คณะทำงานชุดนี้เกิดขึ้นจากการประชุม เรื่อง Hundred Years of Post-Mendelian Genetics and Plant Breeding Retrospect and Prospects ซึ่งจัดขึ้นโดย Indian Society of Genetics and Plant Breeding
Pant กล่าวว่า ความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์ด้านพันธุกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ จะนำไปสู่ผลกระทบที่สำคัญต่อการเกษตร การแพทย์และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องผสมผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างมีประสิทธิภาพเข้ากับเทคโนโลยีปกติ เพื่อให้แน่ใจว่า สิ่งที่ได้มานั้นจะตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ เขากล่าวอีกว่า กลไกที่จะลดความเสี่ยงเป็นเรื่องที่สำคัญในการปฎิบัติทางการเกษตร และนำไปสู่ความรุนแรงของการตลาด และการพิจารณาที่จะผลิตเป็นการค้า

การทดลองข้าวโพดบีทีที่ Isabela ให้ผลผลิตจากการเก็บเกี่ยวที่ดี
บริษัทมอนซานโต้ ที่ประเทศฟิลิปปินส์ รายงานว่า การทดสอบเกี่ยวกับข้าวโพดบีที จาก 3 แห่ง ใน Isabela ให้ผลผลิตสูงเมื่อเปรียบเทียบกับ แปลงทดลองที่ทำใน General Santos City ก่อนหน้านี้ Arnold Estrada ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัทมอนซานโต้ กล่าวว่า ผลผลิตเพิ่มขึ้น ซึ่งสูงมากถึง 50-70%ของผลผลิตที่ได้จากการทดลองแรกๆ
สถานที่ทดลองอยู่ในเมือง Ilagan, Echague และ Cauayan City ข้าวโพดบีทีมีความต้านทานสูงต่อ Asiatic corn borer, Estrada ยังให้ข้อสังเกตุว่า ผลผลิตที่สูงอาจ เป็นผลมาจากดินที่อุดมสมบูรณ์ในจังหวัดนั้น

สามารถดู K sheets จากสายตรงได้แล้ว
K sheets หรือ knowledges sheets สามารถดูได้แล้วจาก http://www.isaaa.org/kc ซึ่งเป็นชุดข้อมูลที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์พืชเทคโนโลยีชีวภาพ และประเด็นปัญหาที่โต้เถียง ดำเนินการโดย Global Knowledge Center on Crop Biotechnology
ชุดข่าวสารบรรจุอยู่ในหนึ่งหน้ากระดาษ ที่สังเคราะห์มาจาก รายงานระหว่างชาติ คำกล่าวและการลงนามบันทึก ที่จะทำให้ผู้อ่านได้ทันต่อเหตุการณ์ ในคำประกาศล่าสุดที่มีต่อการใช้เทคโนโลยีชีวภาพทางพืชในประเทศที่กำลังพัฒนา นำโดยหลายส่วนที่สนับสนุนเทคโนโลยีชีวภาพได้แก่ ธนาคารพัฒนาแห่งเอเซีย องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ และ องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างเอเซียและแปซิฟิก รวมถึงผลที่ได้จากการตรวจสอบของ คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปที่เกี่ยวกับงานวิจัยด้านความปลอดภัยทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม


[เผยแพร่วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2544]