THAILAND BIODIVERSITY CENTER
มีหน้าที่ประสานงานกำกับดูแลด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติสากล และติดตามตรวจสอบให้คำแนะนำด้านวิชาการจัดทำกฏเกณฑ์ มาตรฐาน หรือแนวปฏิบัติเพื่อประเมินและจัดการเกี่ยวกับปัญหาความปลอดภัยทางชีวภาพ
จากระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และ ใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2543

ข่าวความปลอดภัยทางชีวภาพ
จาก Crop Biotech Update, October 19, 2001
พื้นที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมทั่วโลกจะถึง 50 ล้าน เฮกแตร์ ในปี 2544
จากการสำรวจเบื้องต้นที่ทำโดย Dr.Clive James, ประธานของ International Service for the Acquisition of Agri-biotech Applications พบว่า พื้นที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมทั่วโลกดูเหมือนจะสูงถึง 50 ล้าน เฮกแตร์ ในปี 2544 และ ชี้ให้เห็นว่า มีอัตราการเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% ต่อปี เมื่อเทียบกับปี 2543 ซึ่งแม้ว่าจะมีการโต้เถียงเกี่ยวกับพืชดัดแปลงพันธุกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหลายๆ ประเทศของสหภาพยุโรป เกษตรกรรายย่อยและรายใหญ่เป็นจำนวนล้านๆ ราย ในประเทศอุตสาหกรรมและประเทศที่กำลังพัฒนา ก็ยังคงเพิ่มพื้นที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดที่สมบูรณ์ ดูได้จากเว็บไซด์ http://www.isaaa.org
ISAAA จะเผยแพร่ รายงานเรื่อง 2001 Global Review of GM Crops ภายในปลายปีนี้ และจะขอเอกสารนี้ได้จาก ISAAA SEAsia Center: email: publications@isaaa.org

ข้าวโพดบีทีผ่านการยอมรับให้ใช้ได้ต่อไปอีก 7 ปี
หลังจากการตรวจสอบเป็นเวลาเกือบ 2 ปี รัฐบาลสหรัฐก็ได้ให้การยอมรับสำหรับการใช้ข้าวโพด ดัดแปลงพันธุกรรมต่อไปอีก 7 ปี ซึ่งผลจากการตรวจสอบ ไม่พบหลักฐานของความเสี่ยงต่อสุขอนามัยของมนุษย์ หรือต่อสิ่งแวดล้อม อ้างถึงคำกล่าวของ Stephen Johnson ผู้ช่วยฝ่ายบริหาร หน่วยงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (EPA) ที่กล่าวว่า " ข้าวโพดบีที ได้ถูกประเมินมาโดยตลอดโดย EPA และเราเชื่อมั่นว่า ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียงต่อสุขอนามัยของมนุษย์และต่อสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภคควรจะเชื่อมั่นได้ว่า ข้าวโพดพันธุ์เหล่านี้ ไม่ได้แสดงสัญญาณที่เป็นภัยใดๆ ต่อสุขภาพของมนุษย์ " ขณะเดียวกัน มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ที่แสดงให้เห็นว่า ข้าวโพดบีที ไม่ได้มีผลทางลบต่อประชากรของผีเสื้อ Monarch
ในการขยายการใช้ข้าวโพดบีที EPA ได้มีความต้องการที่จะได้ข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและการติดตามผล โดย EPA กำหนดให้บริษัทที่ ขายข้าวโพดบีที จะต้องติดตาม ในเรื่องของการพัฒนาความต้านทานของแมลง และจะต้องมีรายงานประจำปีเกี่ยวกับแผนการจัดการความต้านทานอย่างมีประสิทธิผล และแผนการแก้ไขในกรณีที่ ความต้านทานนั้นมีการพัฒนา
รายละเอียดที่สมบูรณ์ ดูได้จากเว็บไซด์ http://www.epa.gov/pesticides/biopesticides/
EPA ได้เสนอเอกสารใหม่ 2 ชิ้น ที่อธิบายข้อมูลและเหตุผล ที่ได้มีการตัดสินใจขยายการขึ้นทะเบียน ฝ้ายและข้าวโพดบีที
เอกสารนั้นใช้ชื่อว่า Bt Cotton Confirmatory Data and Terms and Conditions of the Amendment ซึ่งจะรวมถึง หน้าที่ในการควบคุมของ EPA ต่อ Bt Cotton และ Bt Corn Confirmatory Data and Terms and Conditions of the Amendment ซึ่งจะรวมถึง หน้าที่ในการควบคุมของ EPA ต่อ Bt Corn
เอกสารทั้ง 2 ชิ้นนี้ มีอยู่ใน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Biopesticides Registration Action Document for the Bacillus thuringiensis (Bt) Plant-Incorporated Protectants.

กรรมาธิการสภายุโรป ตีพิมพ์ผลการตรวจสอบเกี่ยวกับงานวิจัยด้านความปลอดภัยของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม
เมื่อประมาณต้นเดือนตุลาคม กรรมาธิการสภายุโรป ได้ตีพิมพ์รายงานที่เป็นผลมาจากงานวิจัยด้าน ความปลอดภัยทางชีวภาพจากที่ดำเนินมากว่า 15 ปี รายงานนั้นใช้ชื่อว่า EC- sponsored Research into the Safety of Genetically Modified Organisms: A Review of Results ซึ่งวิเคราะห์ผลที่ได้จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์จำนวน 81 ชิ้น ที่ศึกษา เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ที่ทำโดยกลุ่มนักวิจัยมากกว่า 400 กลุ่ม ที่เสียค่าใช้จ่าย 65 ล้านเหรียญสหรัฐ
กรรมาธิการกล่าวว่า งานวิจัยเกี่ยวกับพืชดัดแปลงพันธุกรรม และผลิตภัณฑ์ที่ได้รับ ที่มีการพัฒนาและจำหน่าย และผ่านขั้นตอนการประเมิน ความเสี่ยง ไม่ได้แสดงความเสี่ยงใดๆ ต่อสุขอนามัยของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ที่นอกเหนือไปจากการปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีการปกติ ในความเป็นจริง เป็นการใช้เทคโนโลยีที่มีความแม่นยำมากขึ้น และมีกฏระเบียบควบคุมอย่างมาก ทำให้มีความปลอดภัยมากกว่า พืชและอาหารปกติ และถ้าหากจะมีผลต่อสิ่งแวดล้อมที่ ไม่สามารถคาดล่วงหน้าได้ ก็ยังไม่มีปรากฏให้เห็นในขณะนี้ ซึ่งสิ่งนี้ควรที่จะถูกตรวจสอบได้อย่างรวดเร็วโดยกระบวนการการติดตามผล
งานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากกรรมาธิการสภายุโรปนี้ ได้มุ่งไปที่ทุกขอบเขตที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพืช จุลินทรีย์พืช การควบคุมทางชีวภาพ อาหาร การแก้ไขทางชีวภาพ เครื่องมือต่างๆ ปลำและวัคซีน สำหรับรายละเอียดของผลการตรวจสอบ ให้ไปดูที่ http://europa.eu.int/comm/research/quality-of-life/gmo/

กรรมาธิการสภายุโรปเปิดการประชุมโต๊ะกลมเกี่ยวกับความปลอดภัยของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมในบรัสเซลส์
กรรมาธิการสภายุโรปได้เปิดการประชุมโต๊ะกลมเกี่ยวกับงานวิจัยความปลอดภัยของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม อ้างถึงคำกล่าวของ Philippe Busquin กรรมาธิการด้านวิจัยที่ว่า " ระหว่างการกระตือรือล้นที่มากเกินของผู้ที่ต้องการทำสงคราม GMO และบุคคลกลุ่มเล็กๆ ที่มีความคิดเห็นรุนแรง ในทางตรงข้าม จึงมีความจำเป็นรีบด่วน ที่จะต้องเจรจาตกลงกันอย่างมีเหตุผล บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ของการประเมินความเสี่ยงและการจัดการ
การประชุมนี้จะนำนักวิจัยด้านความปลอดภัยทางชีวภาพชาวยุโรป และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น องค์กรผู้บริโภค ฝ่ายบริหารและอุตสาหกรรมของชาติ ที่จะอภิปรายเกี่ยวกับ อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของงานวิจัยด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้มั่นใจได้ว่า ความรู้ที่มีอยู่ที่ทันสมัยควบคู่ กับการใช้ที่ปลอดภัยของ GMOs จะช่วยกระตุ้นการสนทนาที่มีข่าวสารและโครงสร้างที่ดี
การพบปะครั้งแรกของการประชุมโต๊ะกลม มุ่งที่ความเสี่ยงและประโยชน์ของข้าวโพดบีที ซึ่งเป็นพืชดัดแปลงพันธุกรรมพืชแรกที่ยอมรับ ให้มีการปลูกได้ในยุโรป (มกราคม 1997)
รายระเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประชุมโต๊ะกลม ในเรื่องของความปลอดภัยของ GMO ดูได้จาก http://biosociety.dms.it

นักวิทยาศาสตร์ด้านสุขภาพพืช (นักโรคพืช) แสดงคำกล่าวที่สนับสนุนเทคโนโลยีชีวภาพ
สมาคมโรคพืชอเมริกัน (APS) องค์กรที่ใหญ่ที่สุดของนักวิทยาศาสตร์ด้านสุขภาพพืช ได้แสดงคำกล่าวที่สนับสนุนเทคโนโลยีชีวภาพ อ้างถึงคำกล่าวของ Sue Tolin นักโรคพืชที่ Virginia Polytechnic Institute and State University " โดยแท้จริงแล้วทุกเรื่องราวของโรคพืชได้รับผล กระทบจากเทคโนโลยีชีวภาพ ความก้าวหน้าในขอบเขตนี้ จะมีบทบาทสำคัญในความสามารถของเราที่จะจำแนกและควบคุมเชื้อที่ทำให้เกิดโรคพืช ที่เป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียของผลผลิตคิดเป็นเงินหลายล้านเหรียญในแต่ละปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีโรคพืชเข้าทำลายเป็นประจำ ในพืชอาหารที่สำคัญ
ระหว่างประโยชน์ที่แสดงให้เห็นในคำกล่าวของ APS ก็คือว่า เทคโนโลยีชีวภาพเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ที่จะลดการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช สำหรับการควบคุมโรคพืช และช่วยให้ภัยที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการปฏิบัติทางการเกษตรสมัยใหม่ให้ลดน้อยลง นอกจากนี้ APS ยังพิจารณาถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการจัดการโรคพืชผ่านทางเทคโนโลยีชีวภาพ
" เทคโนโลยีชีวภาพจะต้องดำเนินการในวิธีที่มีความรับผิดชอบ เต็มไปด้วยความเคารพต่อการเป็นมนุษย์ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม " ซึ่งกล่าวโดย Noel Keen ประธานคนปัจจุบันของ APS สำหรับคำกล่าวทั้งหมด โปรดติดต่อ Molly Cerny ที่ mcerny@scisoc.org

อินเดียจะอนุญาตให้ผลิตพืชดัดแปลงพันธุกรรมภายในเดือนมีนาคม 2545
Manju SHarma เลขานุการ ของกรมเทคโนโลยีชีวภาพใน New Delhi ได้ถูกอ้างว่ากล่าวกับ Reuters ว่า อินเดียดูเหมือนจะอนุญาตให้มีการผลิตฝ้ายดัดแปลง พันธุกรรมเป็นการค้าภายในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นครั้งแรกโดยอนุญาตให้แก่ บริษัทเมล็ดพันธุ์ MAHYCO MAHYCO ได้ทำแปลงทดสอบแปลงใหญ่ ของฝ้ายบีที
บริษัทเมล็ดพันธุ์ของอินเดีย ได้รับรายงานชุดแรกเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากการทำการทดลอง และขณะนี้ยังมีการรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม " การรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ จะเสร็จสิ้นภายในเดือน ธันวาคม " Sharma กล่าว


[เผยแพร่วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544]