THAILAND BIODIVERSITY CENTER
มีหน้าที่ประสานงานกำกับดูแลด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติสากล และติดตามตรวจสอบให้คำแนะนำด้านวิชาการจัดทำกฏเกณฑ์ มาตรฐาน หรือแนวปฏิบัติเพื่อประเมินและจัดการเกี่ยวกับปัญหาความปลอดภัยทางชีวภาพ
จากระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และ ใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2543

ข่าวความปลอดภัยทางชีวภาพ
จาก Crop Biotech Update, October 5, 2001
คณะกรรมาธิการสภาสูงเยอรมันยอมรับพืชดัดแปลงพันธุกรรม
คณะกรรมาธิการสภาสูงด้านงานวิจัยทางพันธุศาสตร์ของเยอรมนี ได้กล่าวว่า การใช้พืชและ จุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรมในการผลิตอาหารช่วยให้เกิดความมั่นคงทางอาหารสำหรับประชากรโลก และปกป้องการเกษตรยั่งยืน
องค์กรกลางที่ให้ทุนสาธารณะสำหรับงานวิจัยเพื่อการศึกษาในเยอรมนี Deutsche Forschungsgemeinschaft (DFG) ได้เสนอเรื่องที่เกี่ยวกับ พันธุวิศวกรรมและอาหาร ซึ่งขณะนี้ได้เผยแพร่ไปยังกลุ่มนักการเมืองและนักวิทยาศาสตร์
Ernst-Ludwig Winnacker, ประธานของ DFG กล่าวว่า รายงานนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่การผลิตสัตว์และพืชที่ใช้เป็นอาหารโดย วิธีพันธุวิศวกรรมกำลังเป็นข้อโต้แย้งสาธารณะ
รายงานนั้นได้ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะได้รับ จากการเพาะปลูกและการบริโภคพืชหรืออาหารที่ได้จากการดัดแปลงพันธุกรรม และอ้างถึงการระแวดระวังความปลอดภัยเพื่อปกป้องผู้บริโภค โดยแนะนำให้ยึดกับระเบียบการทดลองและทดสอบ (tried and tested regulation) กับการทดสอบที่เป็นข้อบังคับของกฎหมายที่เกี่ยวกับพันธุวิศวกรรมและอาหาร คณะกรรมาธิการกำลังกระตุ้นให้เกิดความสม่ำเสมอในการ ปฏิบัติภายในประเทศและตามแนวปฏิบัติของสหภาพยุโรป ที่เพิ่มเติมเป็นบทบัญญํติที่ครอบคลุมถึง เมล็ดพืชดัดแปลงพันธุกรรมสำหรับ ใช้เป็นอาหารสัตว์และมนุษย์
เนื้อเรื่องที่สมบูรณ์ดูได้จาก http://www.dfg.de/aktuell/publikationen.html

กลุ่มที่ปรึกษาแคนาดาเสนอให้มีงานวิจัยเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการดัดแปลงพันธุกรรม
แคนาดาควรที่จะปรับปรุงการจัดการเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการเกษตร โดยการแต่งตั้งหัวหน้าเจ้า หน้าที่ความปลอดภัยด้านอาหารที่มาจากการดัดแปลงพันธุกรรม คณะกรรมการที่ปรึกษาเทคโนโลยีชีวภาพแคนาดา ได้เสนอคำแนะนำนี้ ในรายงานที่เกี่ยวกับว่า รัฐบาลกลางจะจัดการในเรื่องของการดัดแปลงพันธุกรรมให้ดีขึ้นได้อย่างไร
จากรายงาน ได้แนะนำให้รัฐบาลแคนาดา ตั้งคณะกรรมการที่เป็นข้าราชการอาวุโสระหว่างหน่วยงานเพื่อที่จะดูแล (1) กฏระเบียบของอาหาร ดัดแปลงพันธุกรรม (2) การทำงานวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลที่มีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว และ (3) งานที่จะแสดงต่อสาธารณะว่า ผู้ดูแลกฏระเบียบของอาหารดัดแปลงพันธุกรรม ไม่ได้ส่งเสริมทั้งผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยี
รายงานฉบับเต็มคงจะนำเสนอได้ในต้นปีหน้าหลังจากที่คณะกรรมการได้รับผลจากการหารือสาธารณะต่อข้อเสนอในเบื้องต้น

สหรัฐอเมริกายังคงต่อเนื่องการปลูกฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรม
ภาคีหนังสือพิมพ์รายงานว่า รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ตัดสินใจตรงข้ามกับความต้องการของเกษตรกร ที่จะลดพื้นที่ปลูกฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรม หน่วยงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency-EPA) กล่าวว่า ไม่มีหลักฐาน ว่า กำลังมีการพัฒนาความต้านทานที่มีต่อ Bacillus thuringiensis และจากความต้องการของเกษตรกรที่จะลดการปลูกพืชนี้ จะส่งผล ต่อความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่ไม่สามารถยอมรับได้ ซึ่งจะนำไปสู่การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูที่เพิ่มมากขึ้น EPA ยอมรับที่จะให้มี การปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมต่อไปอีก 5 ปี
EPA มักถูกอ้างว่าเป็นผู้กล่าวถึง การใช้ฝ้ายบีที จะลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูที่เป็นพิษต่อนกและปลาลงสองในสาม และหนึ่งในสามของการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์

รัฐมนตรีเกษตรของอินโดนีเซียชนะคดีในศาล
State Administration Court ปฏิเสธการยื่นฟ้องรัฐมนตรีการเกษตร ของกลุ่ม NGO คณะ ผู้พิภาคษากล่าวว่า รัฐมนตรีไม่ได้ฝ่าฝืนต่อการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งพระราชกฤษฏีกาที่มีอยู่นั้นก็มีความเกี่ยวเนื่องกับขั้นตอน ที่ต้องการอยู่แล้ว
Bungaran Saragih รัฐมนตรีการเกษตร ซึ่งมีความสุขกับคำตัดสิน กล่าวว่า เขายังคงเปิดรับข้อคิดเห็นจากการวิจารณ์ ถ้าฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรม มีผลกระทบทางลบเขายินดีที่จะถอนพระราชกฤษฏีกา เช่นเดียวกัน เกษตรกร 48 ราย จาก 7 เขตปลูกใน South Sulawesi ซึ่งปลูกฝ้ายดัดแปลง พันธุกรรม ก็ยินดีกับคำตัดสินนั้น

หน่วยงานกำหนดมาตราฐานอาหารไม่สนับสนุนการติดฉลากอาหารที่มาจากการดัดแปลงทางพันธุกรรม
หน่วยงานกำหนดมาตรฐานอาหารของอังกฤษ ได้เปิดอภิปรายเมื่อเร็วๆ นี้ เกี่ยวกับข้อเสนออันใหม่ ของสหภาพยุโรป เกี่ยวกับการสืบทราบและการติดฉลากอาหารที่ได้จากการดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งตัดสินใจที่จะไม่สนับสนุนการติดฉลาก อาหารที่ได้มาจากการดัดแปลงทางพันธุกรรม เช่นน้ำมันพืช อันเป็นส่วนสำคัญของข้อเสนออันใหม
ข้อเสนอที่ยังคงเป็นคำถาม ที่จะขยายการติดฉลากในอาหารทุกชนิดที่ผลิตมาจากการดัดแปลงพันธุกรรม โดยไม่คำนึงว่าจะ มีดีเอ็นเอ หรือโปรตีน ที่มีแหล่งมาจากการดัดแปลงพันธุกรรมอยู่ในผลิตภัณฑ์สุดท้ายหรือไม่ก็ตาม และที่จะขยายการติดฉลากไปยังอาหารมนุษย์ และสัตว์อย่างเคร่งครัด สำหรับอาหารนี้หมายรวมถึงน้ำมันถั่วเหลืองหรือน้ำมันข้าวโพดที่บริสุทธิ์ ที่ได้รับการยกเว้นในปัจจุบัน ก็จะต้องติดฉลากด้วย สำหรับอาหารสัตว์นั้นหมาย รวมถึงการติดฉลาก เช่นใน กากถั่วเหลือกดัดแปลงพันธุกรรม และทุกส่วนประกอบของอาหารที่ รวมกากถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมเป็นองค์ประกอบ และหมายรวมถึงการติดฉลากอาหารสัตว์ที่เป็นgluten ข้าวโพด จากข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมมีอยู่ในอาหาร มนุษย์และสัตว์โดยไม่ตั้งใจ ได้รับการยกเว้นจากการติดฉลากในระดับไม่เกิน 1%
อังกฤษรายงานผลการตรวจสอบและการบังคับเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม
การตรวจสอบสถานที่ปลดปล่อยสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมในอังกฤษ และเวลส์ แสดงให้เห็นว่า ทุกแห่งเป็นไปตามข้อตกลง สิ่งที่จะต้องระวังคือการไม่นำเข้าหรือค้าขายเมล็ดปกติที่มีเมล็ดดัดแปลงพันธุกรรมปะปนอยู่ อย่างไรก็ตาม เมล็ดที่ขายให้เกษตรกรไปแล้วจะไม่เรียกคืนหรือระงับการปลูกในปีนี้
นั่นคือการรายงานโดยผู้ตรวจสอบสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในรัฐบาลของอังกฤษ ที่รับผิดชอบในการควบคุมการใช้ กฏระเบียบ การปลดปล่อยและการค้าสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม หน่วยงานนี้มีฐานอยู่ที่ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์กลาง ดำเนินการตรวจสอบ 79 แปลงที่ปลดปล่อยพืชดัดแปลงพันธุกรรม รวมถึงสถานที่ในฟาร์มรัฐบาลที่ประเมินพืชดัดแปลงพันธุกรรม

มันฝรั่งดัดแปลงพันธุกรรม: ศักยภาพในการป้องกันโรคตับอักเสบ (hepatitis)
มันฝรั่งดัดแปลงพันธุกรรมได้แสดงให้เห็นว่ามี hepatitis B surface antigen ซึ่งประสบผลสำเร็จ อย่างมากในการทดลองป้องกันหนูจากการเป็นโรค ซึ่งมีรายงานอยู่ใน Proceedings of the National Academy of Sciences, สหรัฐอเมริกา
การค้นพบของ Yasmin Thanavala และผู้ร่วมงาน ที่ Roswell Park Cancer Institute, Buffalo, New York และผู้มีส่วนร่วม Hugh Mason ที่ Boyce Thompson Institute for Plant Research และ Charles Arntzen ที่ Arizona State University ได้สนับสนุนความคิดที่จะใช้ วัคซีนที่ กินได้ (edible vaccines) สำหรับการป้องกัน hepatisis B ทั่วโลก
Thanavala และผู้ร่วมงานชี้ให้เห็นว่า แม้จะมีวัคซีน hepatisis B ที่มีประสิทธิภาพมากในอยู่แล้วในปัจจุบัน แต่ราคาของวัคซีนนี้ไม่สามารถ ทำให้มีการใช้กันได้อย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา เขากล่าวว่า ราคาของการพัฒนาเทคโนโลยีในการสร้าง พืชวัคซีนดัดแปลงพันธุกรรม สามารถทำได้ในประเทศที่พัฒนา ซึ่งจะทำให้ได้วัคซีนที่ผลิตได้ในราคาถูกในพืชสำหรับใช้ในประเทศที่กำลังพัฒนา


[เผยแพร่วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2544]