THAILAND BIODIVERSITY CENTER
มีหน้าที่ประสานงานกำกับดูแลด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติสากล และติดตามตรวจสอบให้คำแนะนำด้านวิชาการจัดทำกฏเกณฑ์ มาตรฐาน หรือแนวปฏิบัติเพื่อประเมินและจัดการเกี่ยวกับปัญหาความปลอดภัยทางชีวภาพ
จากระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และ ใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2543

ข่าวความปลอดภัยทางชีวภาพ
จาก Environmental News Network, September 6, 2000
คุณมีความรู้มากน้อยขนาดไหนเกี่ยวกับอาหารดัดแปลงพันธุกรรม (genetically modified food)

ไม่นานมานี้ ผมได้มีโอกาสอ่านและลองทำแบบทดสอบ ที่เรียกว่า GM food quiz ที่ลงอยู่ใน http://www.enn.com ซึ่งเผยแพร่โดย Kris Thoreson ตังแต่วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2543 ผ่านมาหนึ่งปีเห็นจะได้ (ผมไม่รู้ไปอยู่เสียที่ไหน จึงเพิ่ง นำมาเล่าให้ฟัง) ซึ่งเขากล่าวไว้โดยสรุปว่า เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ หรือวิธีการทางด้านพันธุวิศวกรรมได้นำไปสู่การพัฒนาพืชดัดแปลง พันธุกรรม โดยที่ยีนของพืชนั้นๆ ได้ถูกเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ต้องคำนึงถึงผลภัยที่อาจจะมีต่อสุขภาพ เมื่อได้ใช้พืชดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อเป็นอาหารมนุษย์ และในปัจจุบันโอกาสที่เราๆ จะรับประทานอาหารที่มาจากพืชดัดแปลงพันธุกรรมนั้นก็มีมากขึ้น นอกเสียจากว่าเรา จะสามารถรู้ได้ว่า สิ่งที่เรารับประทานนั้นมาจากไหน อย่างไรก็ดี คงต้องกลับมาถามตัวเราเองก่อนว่ามีความรู้ในเรื่องนี้กันมากน้อยแค่ไหน ก็ลองทำแบบทดสอบที่ทำขึ้นมานี้ดู

1. จากความก้าวหน้าทางด้านเครื่องจักรกลและการพัฒนาพืชพันธุ์ใหม่ ส่งผลให้การผลิตอาหารและ การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกเป็นไปอย่างรวดเร็วตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 1800 เป็นต้นมา การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประสิทธิภาพของการผลิต อาหารนี้ มีคำเรียกขานกันว่าอย่างไร
  • ก. การปฎิวัติเขียว (green revolution)
  • ข. การปฎิวัติเทคโนโลยีชีวภาพ (biotechnology revolution)
  • ค. ยุคของการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (age of increasing productivity)
  • ง. การปฎิวัติพันธุกรรม (genetic revolution)
  • 2. มนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดัดแปลงพันธุกรรมพืชและสัตว์ เป็นเวลาหลายพันปีมาแล้ว โดยการผสมพันธุ์ในแต่ละสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะทางพันธุกรรมที่ดี รูปแบบของการดัดแปลงพันธุกรรมที่มนุษย์ดำเนินการอยู่นี้ เรียกว่าอะไร
  • ก. การแยกยีน (gene splicing)
  • ข. การผสมพันธุ์ (hybridization)
  • ค. การรักษายีน (gene maintainace)
  • ง. การปรับปรุงพันธุ์โดยการคัดเลือก (selective breeding)
  • 3. เป้าหมายหลักของการปรับปรุงพันธุ์โดยการคัดเลือก คือการผสมระหว่าพ่อแม่ที่มีพันธุกรรมต่างกัน โดยหวังว่าจะผลิตลูกที่แสดงลักษณะที่ดีกว่าพ่อแม่ คำใดต่อไปนี้ที่ใช้ในการอธิบายผลของลูกที่แสดงออกได้ดีกว่าพ่อแม่
  • ก. natural selection
  • ข. hybrid vigor
  • ค. polyploidy
  • ง. genetic drif
  • 4. คำนิยามสมัยใหม่ของอาหารดัดแปลงพันธุกรรม (genetically modified food) หมายถึงในข้อใด
  • ก. อาหารที่ได้มาจากการปรับปรุงพันธุ์โดยการคัดเลือก โดยมนุษย์
  • ข. อาหารที่ได้จากการพัฒนาด้วยความตั้งใจที่จะได้ผลผลิตที่มากขึ้น
  • ค. อาหารที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งหรือสองสิ่ง ที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม
  • ง. อาหารที่ผลิตขึ้นมาจากการ cloning เท่านั้น
  • 5. วิธีทั่วไปที่ใช้ในการพัฒนาอาหารดัดแปลงพันธุกรรมคือการฝากถ่ายยีนหรือลำดับของดีเอ็นเอ จากสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ไปยังดีเอ็นเอของอีกสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ที่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง กระบวนการถ่ายฝากยีนนี้เรียกว่าอะไร
  • ก. hybridization
  • ข. recombinant DNA
  • ค. cloning
  • ง. artificial selection
  • 6. ขณะที่วิธีการต่างๆ ของเทคโนโลยีสมัยใหม่อาจจะเปลี่ยนไป แต่เป้าหมายที่สำคัญยังคงเดิม ซึ่ง เป็นเป้าหมายเดียวกับเป้าหมายที่มี เมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว ดังนั้นอาหารดัดแปลงพันธุกรรมจึงถูกผลิตขึ้นมาเพื่ออะไร
  • ก. สร้างพืชและสัตว์ที่ให้ผลผลิตสูงขึ้น
  • ข. สร้างผลิตผลที่ทนทานต่อความแห้งแล้ง
  • ค. สร้างผลิตผลที่จะต้านทานต่อโรค
  • ง. เป็นความจริงทั้ง ก. ข. และ ค.
  • 7. ข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมได้รับการยินยอมให้ปลูกได้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 จนถึงปัจจุบัน พื้นที่ปลูกข้าวโพดชนิดนี้ในสหรัฐอเมริกามีอยู่ประมาณกี่เปอร์เซ็นต์
  • ก. 0-5%
  • ข. 10-20%
  • ค. 40-60%
  • ง. 90-100%
  • 8. ในความคิดเห็นของผู้สนับสนุนอาหารดัดแปลงพันธุกรรม ประโยชน์ที่มีต่อสิ่ง แวดล้อมในกรณีที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ต้านทานต่อแมลงศัตรูคืออะไร
  • ก. สามารถกำจัดแมลงศัตรูออกจากห่วงโซ่อาหาร
  • ข. ลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
  • ค. ลดปริมาณของสิ่งมีชีวิตอื่นที่ต้องขึ้นกับแมลงศัตรูเพื่อการอยู่รอด
  • ง. สามารถลดช่วงฤดูปลกพืชดัดแปลงพันธุกรรม
  • 9. ในความคิดเห็นของผู้ไม่เห็นด้วยกับการใช้อาหารดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งชี้ให้เห็นถึงผลภัย ที่อาจมีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ สิ่งที่เป็นกังวลในการใช้พืชต้านทานแมลงศัตรูคืออะไร
  • ก. มีอันตรายโดยตรงต่อนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่นกัน
  • ข. จะสูญเสียความต้านทานเมื่อเวลาผ่านไป เนื่องเพราะการปรับตัวของแมลงต่อสารพิษในพืช
  • ค. จะเป็นอันตรายต่อแมลงที่มีประโยชน์
  • ง. ถูกเฉพาะข้อ ข. และ ค
  • . 10. ในปัจจุบันเป็นการยากที่จะบอกว่า อาหารที่รับประทานในสหรัฐอเมริกา เป็นอาหารที่มา จากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมหรือไม่ ทั้งนี้เป็นเพราะอะไร
  • ก. การติดฉลากทำในอาหารบางชนิดเท่านั้น
  • ข. การติดฉลากทำในอาหารทุกชนิด
  • ค. ผู้ผลิตอาหารมีทางเลือกที่จะติดฉลากว่า ดัดแปลงพันธุกรรม (genetically modified) หรือไม่ก็ได้
  • ง. อาหารที่มาจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมไม่ต้องติดฉลาก

  • เฉลย
    1. ก. (มีผู้ตอบถูก 45%) 2. ง. (มีผู้ตอบถูก 67%) 3. ข. (มีผู้ตอบถูก 59%) 4. ค. (มีผู้ตอบถูก 79%) 5. ข. (มีผู้ตอบถูก60%)
    6. ง. (มีผู้ตอบถูก 95%) 7. ค. (มีผู้ตอบถูก 64%) 8. ข. (มีผู้ตอบถูก 90%) 9. ง. (มีผูตอบถูก 87%) 10. ง. (มีผู้ตอบถูก 69%)
    ในภาพรวมทั้งหมด มีผู้ตอบคำถามได้ถูก 70% ก็คงพอจะได้คำตอบที่ว่าเรามีความรู้เกี่ยวกับอาหารดัดแปลงพันธุกรรมมากน้อย ขนาดใด อย่าไปเครียดถ้าผลออกมาว่าเราได้น้อยกว่าเกณฑ์ที่เขารู้ๆ กัน ก็พยายามติดตามข่าวสารทางด้านนี้บ่อยๆก็แล้วกัน

    [เผยแพร่วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544]