THAILAND BIODIVERSITY CENTER
มีหน้าที่ประสานงานกำกับดูแลด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติสากล และติดตามตรวจสอบให้คำแนะนำด้านวิชาการจัดทำกฏเกณฑ์ มาตรฐาน หรือแนวปฏิบัติเพื่อประเมินและจัดการเกี่ยวกับปัญหาความปลอดภัยทางชีวภาพ
จากระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และ ใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2543

ข่าวความปลอดภัยทางชีวภาพ
จาก Crop Biotech Update, September 28, 2001
นักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาดาเปิดทางสู่มันฝรั่งที่ต้านทาน
จากการศึกษาพันธุกรรมของมันฝรั่งป่าเม็กซิกันชนิด Solanum pinnatisectum นักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาดาได้เริ่มต้นก้าวแรกที่จะพัฒนาพันธุ์มันฝรั่งคุณภาพสูงที่ต้านทานต่อโรคและแมลงที่สำคัญ
นักวิจัยที่นำโดย Qin Chen จาก Lethbridge Research Centre ได้ค้นพบความต้านทานระดับสูง ต่อโรคใบไหม้ และ Colorado potato beetle ใน S. pinnatisectum พวกเขาอยากที่จะถ่ายฝากความต้านทานทั้ง 2 ชนิดนี้ เข้าไปในมันฝรั่งพันธุ์ใหม่ ความสำเร็จอันนี้จะช่วยลด การใช้สารเคมีในการป้องกันเป็นอย่างมาก
Chen อ้างว่า ชนิดของความต้านทานที่พบใน ชนิดพันธุ์เม็กซิกันนี้ มีความต้านทานเพียงพอที่จะให้การป้องกันด้วยตัวเองอย่างเต็มที่ ในกรณีของใบไหม้ Chen พบว่ามี 2 กลไกที่ให้ความต้านทานในระดับสูง กลไกแรกจะควบคุมด้วยยีนเพียงหนึ่งหรือสองคู่ ที่จะให้ความ ต้านทานอย่างเต็มที่ต่อโรคใบไหม้ กลไกที่สอง จะควบคุมด้วยยีนสามถึงห้าคู่ และจะให้ความแตกต่างเพียงเล็กน้อยในชนิดของความต้าน ทาน เมื่อเทียบกับกลไกแรก โดยจะให้ความต้านทานในลักษณะที่เรียกว่า hypersensitivity ซึ่งเชื้อโรคสามารถเข้าสู่ใบพืชได้แต่จะตาย อย่างรวดเร็วและไม่แพร่กระจาย

คณะกรรมการอียูสนับสนุน ข้าวโพดที่ทนทานต่อกลูโฟซิเนท (glufosinate-tolerant corn)
คณะกรรมการวิทยาศาสตร์ด้านพืช (Scientific Committee on Plants - SCP)ของกรรมาธิการ ยูโรเปียน (European Commission) กล่าวว่า ไม่พบหลักฐานที่ T25 ซึ่งเป็นข้าวโพดที่ทนทานต่อกลูโฟซิเนท ที่พัฒนาโดย Aventis จะก่อ ให้เกิดผลที่เป็นภัยต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ตัวพืชจะมียีน phosphinothricin acetyltransferase (PAT) ซึ่งได้จาก Streptomyces viridochromogenes และมียีนเครื่องหมาย (marker gene) ที่ต้านทานต่อยาปฏิชีวนะ
คณะกรรมการให้ข้อสังเกตุว่า ประมาณ 25% ของยีนที่ต้านทานต่อ ampicillin ที่ใส่เข้าไปด้วยนั้น ได้สูญหายไป ทำให้โปรตีนที่ต้านทาน ไม่แสดงออก พืชที่ดัดแปลงพันธุกรรมได้รับการพิจารณาว่า มีความเท่าเทียม (substantial equivalent) กับพืชที่มีพันธุกรรมใกล้เคียงกัน (counterpart) แต่ไม่ได้ดัดแปลงพันธุกรรมด้วยยีนดังกล่าว
มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม สำหรับการพัฒนาการประเมินความอยู่รอดของ PAT โปรตีนหลังจากการย่อย อย่างไรก็ตาม ได้มีข้อสรุปที่ว่า น้ำหนัก ของหลักฐานที่ได้มาจากบริษัท และจากที่อื่นๆ นำไปสู่การสรุปของคณะกรรมการว่า ไม่มีความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญต่อมนุษย์ และปศุสัตว์ หลังจากการย่อยผลิตผลนี้

ฟิลิปปินส์จะทดสอบพันธุ์ข้าวที่ได้มาจากเทคโนโลยีชีวภาพ
พันธุ์ข้าวพันธุ์แรกของฟิลิปปินส์ที่พัฒนาโดยเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อให้ต้านทานต่อโรคที่สำคัญ จะถูกทดสอบใน 2 สถานที่คือ Laguna และ Nueva Ecija ข้าวที่ได้จากเทคโนโลยีชีวภาพ นั่นคือ IR72 ที่ถูกดัดแปลงด้วยยีน Xa-21 ซึ่งได้พิสูจน์ให้เห็นจากการปลูกเชื้อในโรงเรือนว่ามีความต้านทานต่อ 9 ชนิดของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคไหม้ (bacterial blight disease)
นักวิจัยของสถาบันวิจัยข้าวแห่งฟิลิปปินส์ได้พัฒนาพันธุ์ข้าวโดยเทคโนโลยีชีวภาพ และทดสอบในโรงเรือนร่วมกับนักวิจัยจากสถาบัน วิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) อ้างถึง Rhodora Aldemita นักวิจัยจากสถาบันวิจัยข้าวของฟิลิปปินส์ กล่าวว่า การทดสอบในแปลงจะทำให้ได้ข้อ มูลเกี่ยวกับการแสดงออกของพันธุ์ข้าวที่ได้จากเทคโนโลยีชีวภาพ เมื่อปลูกอยู่ในสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
การทดสอบในแปลงจะเริ่มเร็วที่สุด หลังจากที่คณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติของฟิลิปปินส์ให้การอนุมัติ

อินเดียจะออกกฏระเบียบการนำเข้าสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมจากฟาร์ม
J.N.L. Srivastava เลขาธิการการเกษตรจากรัฐบาลกลาง บอกนักข่าว Reuters ว่า อินเดียมีแผน ที่จะออกกฏระเบียบในการนำเข้าผลิตผลทางการเกษตร ที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม อันเนื่องมาจากความกังวลเกี่ยวกับผลของ สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ที่อาจมีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เขาเพิ่มเติมอีกว่า เรากำลังสร้างกฏระเบียบและขั้นตอนใหม่ ซึ่งจะ ได้แจ้งให้ทราบในไม่ช้า
Srivastava กล่าวว่า จุดประสงค์ของรัฐบาลไม่ได้ต้องการที่จะหยุดการนำเข้า แต่เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่า มีข้อมูลข่าวสารพอเพียงเกี่ยวกับ ผลิตผลนั้น ที่จะนำเข้ามาในประเทศ ซึ่งผู้ค้าอาจจะต้องได้รับการอนุญาตจากกระทรวงสิ่งแวดล้อม ก่อนที่จะนำเข้าผลิตผลที่มาจาก สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม

เจ้าหน้าที่ไทย: เลิกการประกาศห้ามการทดสอบในแปลง
กรมวิชาการเกษตรของประเทศไทย ได้ถูกอ้างที่จะกล่าวอีกครั้งหนึ่งว่าขอให้เลิกการประกาศห้ามการ ทดสอบพืชดัดแปลงพันธุกรรมในแปลง หิรัญ หิรัญประดิษฐ์ ผู้เชี่ยวชาญระดับสูงในการผลิตพืช ถูกอ้างว่ากล่าวว่า การที่จะยังคงประกาศห้าม การทดสอบพืชดัดแปลงพันธุกรรมในแปลงจะส่งผลเสียต่อประเทศ โดยเฉพาะในการวิจัยและพัฒนาทางการเกษตร รัฐบาล ไทยเห็นด้วยที่ประกาศห้ามเมื่อปีที่ผ่านมาซึ่งเสนอโดยกลุ่มสมัชชาคนจน
คล้ายคลึงกัน อำพน กิตติอำพน ผู้ช่วยเลขาธิการถาวรของกระทรวงเกษตร กล่าวว่า การเลิกประกาศห้ามจะมีส่วนอย่างมากในการเพิ่มความรู้ และความเข้าใจในเทคโนโลยีใหม่ๆ


[เผยแพร่วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2544]