THAILAND BIODIVERSITY CENTERความปลอดภัยทางชีวภาพ
มีหน้าที่ประสานงานกำกับดูแลด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติสากล และติดตามตรวจสอบให้คำแนะนำด้านวิชาการจัดทำกฏเกณฑ์ มาตรฐาน หรือแนวปฏิบัติเพื่อประเมินและจัดการเกี่ยวกับปัญหาความปลอดภัยทางชีวภาพ
จากระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และ ใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2543

ข่าวความปลอดภัยทางชีวภาพ
จาก Crop Biotech Update, July 20, 2001
อียูวินิจฉัยความปลอดภัยในฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรม
คณะกรรมการวางระเบียบทางวิทยาศาสตร์ ของคณะกรรมาธิการยุโรป ได้ถูกถามเพื่อให้คำแนะนำใน 2 เรื่อง ที่เกี่ยวกับ ศักยภาพในการใช้ฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมในผลิตภัฒน์อนามัยของสตรี ในผลิตภัฒฑ์สำหรับป้องกันการกลั้นไม่อยู่ของเด็กและผู้ใหญ่ และเสื้อผ้าอื่นๆ
คำถามในภาพกว้างก็คือว่า 1. ลักษณะของเส้นใยที่ได้จากกระบวนการดัดแปลงพันธุกรรมของต้นฝ้าย ที่มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อการประเมินความ ปลอดภัยของผลิตภัฒฑ์จากเส้นใยนี้ และ 2. ความแตกต่างอย่างมีศักยภาพในความปลอภัยของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวที่ทำจากฝ้ายปกติ
คณะกรรมการวางระเบียบทางวิทยาศาสตร์ สรุปว่า ไม่มีหลักฐานใดๆ ที่ว่า การดัดแปลงพันธุกรรมที่ทำในฝ้าย 2 พันธุ์ ที่กำลังรอการอนุมัติ ในยุโรปจะส่งผลให้เส้นใยที่ได้แตกต่างไปจากฝ้ายปกติพันธุ์เดียวกันแต่ไม่ได้ดัดแปลงพันธุกรรม ขณะเดียวกัน คณะกรรมการวางระเบียบทางวิทยาศาสตร์ ยังพิจารณาว่า หลักฐานการวิเคราะห์ที่มีเสนอแนะว่า โปรตีน ที่อยู่ในฝ้ายจะถูกทำให้สลายตัว หรือกำจัดออกระหว่างกระบวนการทำเส้นใยฝ้าย และแปรรูปไปเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย
นอกจากนี้ยังไม่เห็นว่าจะมีความเสี่ยงใดๆ เพิ่มเติม ที่มาจากผลิตภัณฑ์ที่ทำจากฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรม ในการสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับผิวหนัง หรือเนื้อเยื่ออื่นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่ได้จากฝ้ายปกต
คณะกรรมาธิการแนะนำว่า ในอนาคต ถ้าผลิตภัณฑ์จากพืชดัดแปลงพันธูกรรม จะพิจารณาให้ใช้สำหรับทางการแพทย์และผลิตภัณฑ์ สุขอนามัยจากฝ้าย การประเมินความปลอดภัยก็จะต้องทำเป็นกรณีไป
องค์การอาหารและการเกษตรของโลกเห็นด้วยกับการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของพืช

คณะกรรมาธิการด้านทรัพยากรพันธุกรรมสำหรับอาหารและการเกษตร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งขององค์การอาหารและการเกษตรของโลก ได้มาถึงข้อตกลงที่จะพยายามรักษาความหลากหลายของพืชเกษตรของโลก สหรัฐอเมริกาตกลงอย่างเปิดเผย ที่นักปรับปรุงพันธุ์ และนักพันธุศาสตร์จะต้องจ่ายเงินตามข้อกำหนด ที่จะเข้าถึงธนาคารเชื้อพันธุ์พืชสาธารณะ ธนาคารเชื้อพันธุ์ได้ให้เมล็ดพันธุ์พืชโดย ไม่คิดค่าใช้จ่าย ซึ่งช่วยในงานวิจัยพืชพันธุ์ใหม่ที่เพิ่มความต้านทานต่อโรค และกั้นขอบผลกระทบของการอุ่นขึ้นของโลก
Jose Exquinas-Alcazar ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์คณะกรรมาธิการกล่าวว่า สิ่งนี้จะช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมสำหรับ ลูกหลานในอนาคต เขาย้ำอีกว่า สิ่งนี้สำคัญเพราะความหลากหลายทางการเกษตรยังคงสูญหายในอัตราที่น่ากังวล
ข้อสัญญาจะส่งให้ประเทศสมาชิกเพื่การยอมรับในการประชุม สองปีต่อหน ของ FAO ในเดือนพฤษจิกายน 2544 ซึ่งจะมีเนื้อหาครอบคลุมถึง การเข้าถึงรายชื่อพืช การแบ่งปันข่าวสารและเทคโนโลยี เพื่อประโยชน์ของประเทศที่กำลังพัฒนา และปกป้องสิทธิของเกษตรกร
นักวิจัยชาวจีนพัฒนาสายพันธุ์ข้าวดัดแปลงพันธุกรรม
กลุ่มนักวิจัยจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เกษตรนิวเคลีย์ของมหาวิทยาลัย Zhejiang ใน Hangzhou, China ทดสอบข้าวดัดแปลงพันธุกรรม 2 สายพันธุ์ ที่ กำจัดการทำลายของผีเสื้อกลางคืนในเวลาเพียง 2 วัน กลุ่มที่นำโดย Hua Jia Chi เปิดเผยว่า ข้าวดัดแปลงพันธุกรรมด้วย synthetic cry1Ab จาก Bacillus thuringiensis มีความต้านทานสูงต่อ ศัตรูข้าว 8 ชนิดในกลุ่ม lepidoptera และเขายังได้พัฒนาวิธีการตรวจสอบโดยการตัดใบ ซึ่งง่ายและ สะดวกสำหรับการตรวจสอบความต้านทานของข้าวบีทีต่อหนอนเจาะลำต้น
เกษตรกรชาวอินโดนีเซียจะเก็บเกี่ยวฝ้ายบีทีที่ปลูกเป็นการค้าครั้งแรก
เกษตรกรใน 7 ตำบล ของ South Sulawesi คาดว่าจะได้รับผลผลิตที่ดี เมื่อเขาเก็บเกี่ยวฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมที่ปลูกเป็นการค้าครั้งแรก สิ่งนี้เป็นปรากฏการณ์ ครั้งแรกในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ฝ้ายบีทีที่ต้านทานต่อแมลงได้ปลูกประมาณ 4,000 เฮกแตร์ หรือประมาณ 25,000 ไร่ ซึ่งโปรตีนที่เป็นตัวกำจัดแมลงที่อยู่ภายใน ต้นฝ้ายทำให้พืชป้องกันตัวเองจากหนอนเจาะสมอฝ้าย
การทดสอบในแปลงทดลองเริ่มในปี 2543 โดย Gadjah Mada and Hasanuddin University ในประเทศอินโดนีเซีย แสดงผลในทางบวก พันธุ์ฝ้ายบีที มีการแสดงออกที่ดีกว่า พันธุ์พื้นเมือง 7 สถานที่จาก 15 สถานที่ ให้ผลผลิตสูงถึง 3 ตันต่อ เฮกแตร์ หรือ 480 กิโลกรัมต่อไร่ เปรียบเทียบกับพันธุ์พื้นเมืองที่ได้ผลผลิตน้อยกว่า 2 ตันต่อเฮกแตร์ หรือน้อยกว่า 320 กิโลกรัมต่อไร่ และสามารถควบคุมหนอนเจาะสมอฝ้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยลดการพ่นสารเคมีจาก 7-12 ครั้ง เหลือเพียง 0-3 ครั้งต่อฤดูปลูก

เอกสารเกี่ยวกับความปลอดภัยทางชีวภาพ